Castellation หมายถึงการสร้างให้ดูเหมือนปราสาทสมัยก่อน
มีป้อมรวมทั้งปืนใหญ่ พร้อมเพื่อการสู้รบ. ในสมัยก่อนปราสาททั้งหลายนั้นเคยเป็นนิวาสถานของตระกูลผู้ดีเก่าอังกฤษ
ซึ่งแน่นอนย่อมผูกพันกับราชวงศ์อังกฤษไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง.
สวนหินหนึ่งไม่มีสอง Sanspareil[ซ็องปาแรย] (Felsengarten Sanspareil) เคยมีปราสาทยุคกลางชื่อ Zwernitz Castle ที่ใช้เป็นที่ประทับเพื่อการล่าสัตว์มาจนถึงปี1744. ในสมัยของเจ้าผู้ครองMargrave Friedrich ได้เปลี่ยนชื่ออุทยานเป็น Sanspareil เพราะค้นพบความงามของหินผาใหญ่ๆรูปลักษณ์แปลกๆในป่าต้น beech หรือ buche ในภาษาเยอรมัน(วงศ์ Fagus) รวมถึงการจินตนาการว่าเป็นเส้นทางผ่านของ Telemachus เมื่อออกตามหา Odysseus ผู้พ่อในเทพปกรณัมกรีก. เจ้านายเยอรมันสมัยนั้น ต่างตื่นเต้นชื่นชมสวนที่ไม่เหมือนที่ใด ตรงตามชื่อ Sanspareil ที่แปลว่า ไม่มีอะไรเหมือน. สมัยนั้นเคยมีอาคารตำหนักต่างๆมาก่อน แต่ไม่เหลือมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากถูกขายทอดตลาดไปในศตวรรษที่19 เหลือเพียงบางส่วนของปราสาท Zwernitz ที่กลายเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณ Sanspareil รวมทั้งเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการเครื่องมือเครื่องไม้อีกทั้งเสื้อผ้าชุดล่าสัตว์ของเจ้านายและเขากวางต่างๆที่ล่าได้ในสมัยก่อน. ที่น่าสนใจที่สุดคือเวทีละครหินที่สร้างผสมผสานลักษณะของถ้ำนิดๆ กลมกลืนไปในป่าไม้รอบบริเวณนั้น (ดูที่ theatre).
ต่อมาเมื่ออุทยานและปราสาทหลายแห่ง
ตกอยู่ในมือขององค์กรบริหารเอกชนเช่นองค์กรการกุศล The National
Trust ที่ต้องการอนุรักษ์สถานที่
อาคารหรือหมู่บ้าน เครื่องเรือน ภาพถ่ายหรือสังหาริมทรัพย์อื่นใด,
ภูมิประเทศที่รวมถึงสัตว์และพืชพรรณและภูมิสถาปัตย์ฯลฯ ยึดประเด็นของความสำคัญและความน่าสนใจเชิงประวัติศาสตร์และคุณค่าทางศิลปะเป็นเป้าหมาย. การอนุรักษ์ทั้งหลายทั้งปวงนี้ เพื่อให้เป็นมรดกแก่ชนรุ่นหลัง จรรโลงคุณค่าต่างๆไว้ให้เป็นแบบต่อไป
หรือเป็นพยานหลักฐานของยุคสมัยหนึ่งสมัยใดอย่างเฉพาะเจาะจง. สรุปได้สั้นๆว่า The
National Trust เป็นตัวอย่างขององค์กรการกุศลเพื่ออนุรักษ์ทั้งกายภาคของเกาะอังกฤษและสืบทอด“ความเป็นอังกฤษ”ให้ปรากฏต่อไป.
ในส่วนที่เกี่ยวกับอุทยานและปราสาทโบราณ องค์กรนี้ได้พยายามรณรงค์เรี่ยไรเงินจากประชาชนเพื่อซื้ออุทยานและปราสาทดั้งเดิมไว้เป็นจำนวนมาก
จึงเป็นผู้บริหารจัดการพื้นที่อุทยานและปราสาททั้งหลายในสหราชอาณาจักร
เจาะจงจัดและประดับสวนในแบบดั้งเดิมที่เคยมีที่นั่นให้มากที่สุด เพื่อให้สะท้อนยุคสมัยรวมทั้งอำนาจของผู้เป็นเจ้าของในยุคนั้นๆ. การจัดทำอย่างนี้
ทำให้“ภาพลักษณ์ของอำนาจ”กลายเป็นเอกลักษณ์ถาวรอย่างหนึ่งของอุทยานภูมิทัศน์ในอังกฤษ
เพราะราชวงศ์อังกฤษยังคงเป็นเอกลักษณ์สำคัญของสหราชอาณาจักรมาจนทุกวันนี้ ทั้งๆที่ประชาธิปไตยเป็นจุดยืนร่วมกันของมนุษยชาติในโลกแล้วก็ตาม.
การสร้างป้อมปราการขนาดย่อส่วน ในสวนหรืออุทยาน เป็นไปตามค่านิยมนี้.
Castle ปราสาท ในบริบทของสวน ถือกันว่า สถาปัตยกรรมโบราณ(แบบปราสาท)
เร้าอารมณ์โรแมนติค (โรแมนติคที่มิได้หมายถึงความรู้สึกรักใคร่ฉันหนุ่มสาว
ดูที่ romantic) ที่ยังฝังอยู่ในจิตสำนึกของชาวยุโรปและโดยเฉพาะชาวอังกฤษ.
ซากปราสาทที่ปรักหักพังจึงกลายเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสวนตะวันตก. หากเป็นซากปรักหักพังจริงของปราสาทที่เคยตั้งในบริเวณนั้น
ก็จะอนุรักษ์ไว้โดยไม่แตะต้องหรือปรับเปลี่ยนแต่อย่างใด และจัดทำทางเดินนำไปชมซากปราสาทนั้น. ซากสถาปัตยกรรมจึงเป็นจุดดึงสายตาและดึงความสนใจจุดหนึ่ง.
หากไม่มีซากปราสาทจริง ก็นิยมสร้างขึ้น ในรูปแบบของกำแพง อาคารหรือป้อม และปล่อยให้หญ้าขึ้นปรกเป็นหย่อมๆเพื่อให้ดูเหมือนซากปรักหักพังจริงๆ
ที่เชื่อมโยงจินตนาการของผู้ดู สู่ภาพลักษณ์ของอำนาจในยุคก่อนๆ ในขณะเดียวกันก็เป็นสิ่งเตือนสติด้วยว่าแม้แต่จักรวรรดิโรมันก็ยังเสื่อมสลายไปในที่สุด. ในแง่นี้จึงพูดว่า
ซากปราสาทเป็นสิ่งสะเทือนอารมณ์ กระตุ้นอารมณ์โรแมนติค.
ที่เชิงเนิน Schönbrunn Hill ในพระราชอุทยาน Schönbrunn (Vienna, Austria) มีซากปรักหักพังที่เนรมิตขึ้นอย่างเฉพาะเจาะจงในยุคบาร็อค (ปี1778) สอดคล้องกับค่านิยมแนว picturesque (คือสร้างสรรค์พื้นที่ให้สวยเหมือนภาพ ดูที่คำนี้). เดิมตั้งชื่อไว้ว่า Ruin
of Carthage แทรกเข้าไปในภูมิทัศน์สวนได้อย่างเหมาะเจาะ. กลุ่มสถาปัตยกรรมนี้ต้องการให้เป็นภาพสะท้อนของความยิ่งใหญ่ในสมัยจักรพรรดิ Vespasian(AD 69-79) และ Titus
ลูกชายคนโต ผู้ขึ้นเป็นจักรพรรดิต่อจากพ่อ(เป็นการสืบตำแหน่งจักรพรรดิโรมันโดยตรง จากพ่อถึงลูก เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์โรมัน). Vespasian เป็นผู้สถาปนาราชวงศ์ Flavian
ที่ครองอาณาโรมันนาน 27 ปี. การเจาะจงเลือกนำเสนอเนื้อหาของจักรพรรดิโรมันผู้ยิ่งใหญ่สองคนนี้ มาประกอบซากปรักหักพัง
เจาะจงนัยชัดเจนของความอนิจจัง.
(Johann
Ferdinand Hetzendorf von Hohenberg เป็นผู้ออกแบบ
ได้ความคิดและจำลองจากภาพพิมพ์ปี1756ของ
Giovanni Battista Piranesi. ดูรายละเอียดต่อได้ที่เว็ปเพจ
schoenbrunn.at)
ภาพนี้ของ Gryffindor, September 2007.
[Public domain], via Wikimedia Commons.
ภาพนี้จากเว็ป maxpixel.freegreatpicture.com
อุทยาน Eremitage ที่เมือง Bayreuth ได้เจาะจงสร้างกำแพงปราสาท(ขนาดย่อส่วน)ที่เหมือนซากปรักหักพัง ประดับสวนด้วย. ที่นั่นได้สร้างอาคารแบบต่างๆประดับสวน
ตามค่านิยมและอุดมการณ์สวนในศตวรรษที่18 แทรกเหมือนซ่อนในหมู่ไม้มุมนั้นมุมนี้ในอุทยาน.
สวนหินหนึ่งไม่มีสอง Sanspareil[ซ็องปาแรย] (Felsengarten Sanspareil) เคยมีปราสาทยุคกลางชื่อ Zwernitz Castle ที่ใช้เป็นที่ประทับเพื่อการล่าสัตว์มาจนถึงปี1744. ในสมัยของเจ้าผู้ครองMargrave Friedrich ได้เปลี่ยนชื่ออุทยานเป็น Sanspareil เพราะค้นพบความงามของหินผาใหญ่ๆรูปลักษณ์แปลกๆในป่าต้น beech หรือ buche ในภาษาเยอรมัน(วงศ์ Fagus) รวมถึงการจินตนาการว่าเป็นเส้นทางผ่านของ Telemachus เมื่อออกตามหา Odysseus ผู้พ่อในเทพปกรณัมกรีก. เจ้านายเยอรมันสมัยนั้น ต่างตื่นเต้นชื่นชมสวนที่ไม่เหมือนที่ใด ตรงตามชื่อ Sanspareil ที่แปลว่า ไม่มีอะไรเหมือน. สมัยนั้นเคยมีอาคารตำหนักต่างๆมาก่อน แต่ไม่เหลือมาถึงปัจจุบัน เนื่องจากถูกขายทอดตลาดไปในศตวรรษที่19 เหลือเพียงบางส่วนของปราสาท Zwernitz ที่กลายเป็นศูนย์ข้อมูลเกี่ยวกับพื้นที่บริเวณ Sanspareil รวมทั้งเป็นที่จัดแสดงนิทรรศการเครื่องมือเครื่องไม้อีกทั้งเสื้อผ้าชุดล่าสัตว์ของเจ้านายและเขากวางต่างๆที่ล่าได้ในสมัยก่อน. ที่น่าสนใจที่สุดคือเวทีละครหินที่สร้างผสมผสานลักษณะของถ้ำนิดๆ กลมกลืนไปในป่าไม้รอบบริเวณนั้น (ดูที่ theatre).
สี่ภาพข้างบนนี้เป็นส่วนที่เหลือของ
Zwernitz
Castle ในปัจจุบัน ที่ยังคงรักษาไว้
ในป่าอุทยาน Sanspareil (เมือง Wonsees เยอรมนี). ติดตามอ่านข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสวนหินเยอรมันนี้ได้ตามลิงค์ที่ให้นี้.
Celts เคลต์เป็นชนเผ่าอินโดยุโรเปียนเผ่าแรกๆในยุคแรก
ที่ต่อมาแยกออกเป็นหลายกลุ่ม กระจัดกระจายออกไปทั่วยุโรป. ยุคที่สองคือราวพันปีกว่าก่อนคริสตกาลจนถึงราวร้อยปีก่อนคริสตกาล เป็นยุคเด่นของHalstatt (c.700 BC.) ตามด้วยยุค La Tène (กลางศตวรรษที่5BC.)เป็นต้น. ดินแดนของชนเผ่าเคลต์ในยุโรปถูกผนวกเข้าในอาณาจักรโรมันในศตวรรษที่
1 BC. (ชาวเคลต์มีความเชื่อเกี่ยวกับต้นไม้ที่น่าสนใจมาก).
Cemetery garden
สุสานสมัยใหม่เริ่มขึ้นในศตวรรษที่ 19 เรียกกันว่า สวนสุสาน
แปลนสวนสุสานยุควิคตอเรียในอังกฤษหลายแห่งเป็นสวนแบบแผน มีทางเดินภายในเป็นเส้นตรงและตัดกันแบบเรขาคณิต
แปลนแบบนี้เอื้อให้จัดหลุมศพได้ชิดติดกันไป. ในกรณีที่ไม่ใช่สวนแบบแผน มีทางเดินลดเลี้ยวไปมา
และปลูกต้นไม้พันธุ์เดียวกันรวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ที่เห็นได้แต่ไกล (ดูที่คำ clumps)
มักเป็นต้นไม้ใหญ่ใบโตๆเพื่อให้มีร่มเงาไม้ให้มากที่สุด
ลดความรู้สึกโดดเดี่ยวและเวิ้งว้างภายในสวนสุสานนั้น.
ภาพทั้งสี่นี้มาจากสวนสุสาน Père-Lachaise แปร์ลาแช้ซ อยู่ชานเมืองทิศตะวันออกของกรุง Paris. เป็นสวนสุสานที่สร้างขึ้นในปารีสเป็นสวนแรก เปิดใช้ตั้งแต่ปี
1804.
การสร้างสุสานเริ่มขึ้นเมื่อฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามฝังศพภายในตัวเมือง
แม้ในบริเวณวัดหรือโบสถ์ดังที่เคยทำกันมา โดยเฉพาะเมื่อเป็นศพของกษัตริย์ เชื้อพระวงศ์ขุนนางชั้นสูงหรือบาทหลวง. การรื้อล้างสุสานในเมืองเพื่อเหตุผลทางสาธารณะสุขเป็นสำคัญ. กฎหมายนี้ประกาศใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1801 และมีผลบังคับใช้ทั่วทั้งประเทศ.
ตั้งแต่นั้นจึงมีการจัดสรรที่ดินชานเมืองให้เป็นสุสานประจำแต่ละเมืองแต่ละถิ่น. บนเส้นทางหลวงในฝรั่งเศสและหลายประเทศในยุโรป
เมื่อเห็นสุสานก็รู้ได้ว่า
ถึงเมืองๆหนึ่งแล้ว ผ่านสุสานไปก็เข้าสู่ตัวเมือง.
สวนสุสานแปร์ลาแช้ซ เป็นตัวอย่างของสุสานอื่นๆที่สร้างตามมาทั้งในฝรั่งเศสเองและในประเทศตะวันตก
โดยเฉพาะในอเมริกาได้สร้างสวนสุสานขนาดใหญ่หลายแห่งที่ร่มรื่น
ให้เป็นสวนเดินเล่นไปด้วย. สุสานตะวันตกไม่มีอะไรน่ากลัว ไม่มืดๆทึมๆ แต่มีพื้นที่กว้าง
มีแสงแดดส่องสว่าง มีต้นไม้ใหญ่ๆจำนวนมาก แปลงดอกไม้ก็ตกแต่งสวยงามอยู่เสมอ. ความคิดเรื่องสุสานเรื่องความตาย จึงพัฒนามาเป็น อุทยานแห่งความทรงจำ
แทน.
ในงานมหกรรมพืชสวนโลกที่ประเทศเนเธอแลนด์จัดขึ้นเป็นครั้งแรกในปี2002 (Floriade [ฟลอรีอ้าดเดอะ] 2002) ที่เมืองอ้าเล็มเมอมี้ร์ (Haarlemmermeer)นั้น นอกจากการแสดงพืชสวน ต้นไม้ดอกหรือการออกแบบสวน ยังมีจุดมุ่งหมายสำคัญในการกระตุ้นจิตสำนึกเกี่ยวกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เกี่ยวกับการที่ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้อย่างสิ้นเปลืองจนถึงขั้นวิกฤต. นอกจากสวนแบบต่างๆที่นานาประเทศไปจัดเสนอเป็นตัวอย่างการปลูกสวนและพืชพรรณในประเทศนั้นๆ สิ่งที่ดึงดูดความสนใจของเราเป็นพิเศษ คือนิทรรศการที่ตั้งชื่อไว้ว่า
สวนแห่งสุดท้าย (The Last Garden) ให้เห็นวิธีการตกแต่งประดับเหนือหลุมศพ
ประดับด้วยดอกไม้และประติมากรรมในแนวใหม่ ที่น่าสนใจทีเดียว.
ภาพแสดงแปลนบริเวณนิทรรศการที่ให้ชื่อว่า
สวนแห่งสุดท้าย - The Last Garden
ผู้จัดอธิบายไว้ว่า
นิทรรศการ “สวนแห่งสุดท้าย” เป็นตัวอย่างของแนวคิดส่วนตัวแนวใหม่เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมสุสาน
เปลี่ยนจิตสำนึกเกี่ยวกับความตาย
ต้องการดึงความสนใจสู่บทบาทของสุสานกับความทรงจำในสังคมคน.
สถาปัตยกรรมสุสานมีขนาดเล็กและเป็นสิ่งส่วนตัว การสร้างสรรค์อาจใช้สัญลักษณ์แบบเก่าๆและวัสดุธรรมชาติ
มาประกอบกันในแนวใหม่ พร้อมทั้งชี้ให้เห็นว่า การออกแบบ
การก่อสร้างและการบริหารสุสานในสังคมปัจจุบันนั้นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
จำต้องพัฒนาตามกาลเวลาและสิ่งแวดล้อม. ตัวอย่างที่นำมาแสดงในนิทรรศการ
แสดงให้เข้าใจสารและความรู้สึกส่วนบุคคล
พร้อมๆกับการเน้นความทรงจำเกี่ยวกับบุคคลผู้จากไป. การใช้หินธรรมชาติ
(สืบทอดจากค่านิยมโบราณ) มาดัดแปลงเป็นงานประติมากรรมแนวใหม่
บวกกับการใช้ต้นไม้ใบเขียวตลอดปี รวมกันให้เอกภาพที่กลมกลืนและคลาซสิก.
ปีหลังๆมาในงานมหกรรมดอกไม้ที่ชาติอื่นๆในยุโรปจัดขึ้น
มักมีบริเวณหนึ่งที่จัดเป็นสวนสุสานแสดงการออกแบบประติมากรรมประดับหลุมศพในแบบต่างๆ. สำหรับชาวเอเชีย
การสร้างสรรค์แบบนี้ มีส่วนช่วยความรู้สึกคนเดินชมได้มากและอาจมีส่วนทำให้แต่ละคนกล้านึกถึงความตายด้วยความสงบมากขึ้น.
งานมหกรรมพืชสวนในเยอรมนี
Bundesgartenschau ปี 2011 ที่เมืองโคเบล็นส์ (Koblenz) ก็มีตัวอย่างสวนสุสานเช่นกัน (ใช้ชื่อว่า Grabgestaltung
und Denkmal หรือ Der
Memorian-Garten) นอกจากรูปแบบสถาปัตยกรรมสุสาน
ยังเสนอการใช้ต้นไม้ดอกไม้ประดับหลุมฝังศพและอาณาบริเวณสุสาน
เพราะต้นไม้ ดอกไม้
มีเรื่องเล่ามีตำนานที่เป็นภูมิหลังร่วมกันในจิตสำนึกชาวตะวันตก เช่นกรณีของดอกแพนซี(ที่มีนัยของความคิดถึง)
ที่นำมาใช้ในการประดับสุสานได้อย่างตรงเป้าหมาย.
** ติดตามไปอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสวนสุสานแห่งแรกในยุโรป ที่คือสุสานแปร์ลาแช้สที่กรุงปารีส ตามลิงค์นี้ และลิงค์ไปอ่านเรื่องสุสานแนวใหม่ในตะวันตก.
สวนสุสานของหมู่บ้านบนเนินเขาที่เมือง
Appenzell
(สวิตเซอแลนด์)
เป็นสวนสุสานในภูมิประเทศที่สวยงามยิ่ง
มุมสงบในพระราชอุทยาน
Scone
Palace (Perth, Scotland) ที่เป็นสุสานเก่าแก่บนพื้นที่
ดินแดนตรงนั้นเคยเป็นที่ตั้งของวัด Scone Priory ในศตวรรษที่12 มาก่อน ปัจจุบันคือวัด Scone Abbey ภายในพระราชวัง Scone Palace.
หินก้อนที่วางแสดงบนฐานหินคือ
หินจำลองของ Stone of Scone
ตั้งตรงหน้าวัด
Scone
Abbey
หินนี้ใช้เป็นที่ประทับ(เป็นบัลลังก์หิน)ของผู้ที่ขึ้นเป็นกษัตริย์ของสก็อตแลนด์ในพระราชพิธีราชาภิเษกอย่างต่อเนื่องเกือบพันปี. Stone of Scone (หนักประมาณ 152 กิโลกรัม) มีนัยลึกล้ำสำหรับชาวสก็อต เป็นบัลลังก์แข็งแกร่งของผู้นำ เป็น Coronation Stone เป็น Stone
of Destiny. เมื่อสก็อตแลนด์ถูกผนวกรวมเป็นหนึ่งเดียวในสหราชอาณาจักร
หินก้อนนี้ถูกนำไปเก็บไว้ใน Westminster
Abbey ที่ลอนดอน เหมือนตัดจิตวิญญาณและความผูกพันของชาวสก็อตให้สิ้นลง ตั้งแต่นั้นใช้เป็นที่ประทับของกษัตริย์ผู้ครองสหราชอาณาจักรเท่านั้น. ครั้งหลังสุด นำมาใช้เป็นที่ประทับในพระราชพิธีราชาภิเษกของสมเด็จพระราชินีเอลิซาเบธที่สอง.
บนพื้นที่อุทยาน Muskau Park ที่เป็นส่วนหนึ่งของปราสาท Schloss
Muscau ที่ประทับของเจ้าชาย Hermann von Pückler-Muskau พระองค์ทรงให้เนรมิตสวนภูมิทัศน์แบบอังกฤษตั้งแต่ปี1815 (English
Landscape garden). สวนภูมิทัศน์ที่นั่นใหญ่ที่สุดและมีชื่อเสียงที่สุดในภาคกลางของยุโรป. พื้นที่สวนทอดไปบนสองฝั่งแม่น้ำสาย Lusatian Neisse รวมพื้นที่พรมแดนทั้งในเยอรมนีและโปแลนด์. สวนนี้ได้ขึ้นทะเบียนยูเนสโกเป็นมรดกโลกในปี2004. เนินดินคลุมด้วยหญ้ารูปปิรามิดตั้งอยู่ใกล้ฝั่งน้ำ
โดดเด่นเป็นอัตลักษณ์พิเศษสุดของสวน ยังมีเนินดินรูปปิรามิดในพื้นที่อีกหนึ่งแห่ง
ที่เปิดให้เดินขึ้นไปชมทัศนียภาพรอบๆ.
สามภาพนี้เพื่อให้ดูเกาะเล็กๆที่ตั้งก้อนหินประดับด้วยไม้กางเขน
จารึกชื่อผู้ตายคือเจ้าชาย Hermann von Pückler และเจ้าหญิง Lucie Muskau พระมเหสี.
เจ้าชายเยอรมันองค์นี้เป็นศิลปินและนักเดินทาง
ได้เดินทางไปทั่วทั้งเกาะอังกฤษตลอดเวลาหนึ่งปี ยังไปประเทศยุโรปอื่นๆและแอฟริกาเหนือ.
ทรงนิพนธ์หนังสือบันทึกเดินทางของพระองค์อย่างต่อเนื่อง(มีผู้คนติดตามอ่านอย่างกว้างขวาง). ปราสาทที่นั่นมีสรรพสิ่งที่สะสมมาจากการเดินทางและเอกสารข้อมูลทั้งหลาย. การเนรมิตเนินสูงทรงปิรามิด ยืนยันความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมโบราณ. สวนที่นั่นเป็นพยานรสนิยมสูงและปัญญาเลิศของพระองค์.
สุสานอนุสรณ์แห่งความทรงจำของชาวยิวยุโรปที่ถูกฆ่าตายในกรุงแบร์ลิน
ชื่อทางการในภาษาเยอรมันคือ Holocaust-Mahnmal หรือ Holocaut
Memorial. Peter Eisenman เป็นสถาปนิกผู้ออกแบบและ
Buro
Happold เป็นวิศวกรก่อสร้าง (เปิดเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2005).
พื้นที่ทั้งหมด4.7 เอเครอ
เป็นพื้นลาดเล็กน้อย. ประกอบด้วยหินคอนกรีตสีเทาๆตัดรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า(stelae) ทั้งหมด 2,711
แผ่น มีความยาวความกว้างเท่าๆกันทั้งหมด(2.38 x 0.95 เมตร) ยกเว้นความสูงต่างๆกัน (ตั้งแต่ 0.2-4.7เมตร)
วางเป็นตาราง
เป็นแถวๆบนเส้นทิศเหนือ-ใต้และทิศตะวันออก-ตะวันตก. มีทางเดินเล็กๆระหว่างแถว.
มีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นศูนย์ข้อมูลเป็นห้องหลายห้องในชั้นใต้ดิน
เกี่ยวกับชาวยิวผู้ถูกฆ่า บันทึกของคนตาย เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในค่ายกักกันเป็นต้น. มีชื่อผู้ตายเหยื่อของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์เท่าที่รวบรวมได้อย่างเป็นทางการสามล้านคน.
สุสานอนุสรณ์ชาวยิวฯ มองจากทิศใต้จากสวน Ministergärten. ภาพของ Orator (Own work), 3 October 2016. [CC BY-SA 4.0
(https://creativecommons.org/licenses/by-sa/4.0)], via Wikimedia Commons.
สุสานอนุสรณ์นี้แล้วเสร็จ (ปี 2005) หกสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง รูปแบบของสุสานนี้ เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์เรื่อยมา
ทั้งผู้เห็นคล้อยตามวิสัยทัศน์ของสถาปนิก และผู้ที่เห็นต่าง เช่นแผ่นหินทั้งหลายเหมือนโลงศพ
ขนาดก็ใกล้เคียงกับโลงศพปกติที่ใช้กัน สร้างความหวาดหวั่น. บ้างเห็นว่าวิธีการเรียงแผ่นหินเป็นแถวๆเป็นตาราง
สะท้อนให้เห็นระเบียบวินัยที่แข็งทื่อและอำมาตยาธิปไตยที่เป็นเหมือนเครื่องจักรฆ่าคน. ความเหมือนที่ไม่สิ้นสุดกับความซ้ำแบบเดียวกันสุดสายตาในสถาปัตยกรรมสุสานแห่งนี้
ยิ่งตอกย้ำอัตลักษณ์ของระบบการเมืองการปกครองฯลฯ. (ติดตามหาอ่านรายละเอียดได้ในเน็ต)
ภาพข้างล่างต่อไปนี้ จากสุสาน Ohlsdorfer Friedhof ที่ชานเมือง Hamburg มีพื้นที่เกือบพันเอเครอหรือ 3.91 ตารางกิโลเมตร เป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สองในโลก รองจากThe National Cemetery ที่ Calverton บนเกาะ Long Island (New York, USA). สถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี 1877 เป็นสุสานที่เปิดสำหรับทุกศาสนา มีวัดวิหารสิบสองแห่ง มีที่สำหรับรองรับผู้ตายประมาณ1.5 ล้านแห่ง. มีคนสวนดูแลทั้งอุทยานนี้กว่า230 คน. เหมือนตำบลหนึ่งเลยทีเดียว.
นอกจากหลุมศพหรือสุสานอนุสรณ์ที่มีความหมายสำคัญเชิงประวัติศาสตร์และที่ยังคงมีองค์กรหนึ่งองค์กรใด ยินดีดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสุสาน, การฝังศพที่นั่นคือการเช่าที่ดินในนั้น แต่ละแปลงมีกำหนดไม่เกิน25-30 ปี. หลังจากนั้นพื้นที่ที่เช่าไว้ จะถูกรื้อปรับสภาพดินและพื้นที่ใหม่และปล่อยเช่าให้แก่รายใหม่ต่อไป. สุสานนี้มีพื้นที่กว้าง สงบร่มรื่นเหมือนอุทยานภูมิทัศน์แห่งหนึ่งที่พัฒนาขึ้นดีกว่าสุสานต้นแบบแปร์ลาแช้สที่กรุงปารีส ที่คับแคบลงและไม่มีทางขยับขยายไปไหนได้เลย.
ภายในอาคารวัดหรือวิหาร มีมุมจัดเป็นที่เก็บอังคาร เก็บไว้ในตู้ดังตัวอย่างบนกำแพงด้านซ้ายในภาพข้างบนนี้ (เหมือนหอพักหรือคอนโดสำหรับผู้ตาย) และยังมีอีกมุมหนึ่งที่จัดเป็นที่เก็บอังคารในผะอบหรือกระปุก ที่เหมือนแจกันทรงสูงมีฝาปิดดังที่เห็นบนหิ้งด้านขวาของภาพข้างบนนี้. มีแท่นเทศน์สำหรับพระผู้ประกอบพิธีตรงกลางภาพ. (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสุสาน Ohlsdorfer Friedhof, Hamburg ได้ในเน็ต)
ภาพข้างล่างต่อไปนี้ จากสุสาน Ohlsdorfer Friedhof ที่ชานเมือง Hamburg มีพื้นที่เกือบพันเอเครอหรือ 3.91 ตารางกิโลเมตร เป็นสุสานที่มีขนาดใหญ่เป็นที่สองในโลก รองจากThe National Cemetery ที่ Calverton บนเกาะ Long Island (New York, USA). สถาปนาขึ้นตั้งแต่ปี 1877 เป็นสุสานที่เปิดสำหรับทุกศาสนา มีวัดวิหารสิบสองแห่ง มีที่สำหรับรองรับผู้ตายประมาณ1.5 ล้านแห่ง. มีคนสวนดูแลทั้งอุทยานนี้กว่า230 คน. เหมือนตำบลหนึ่งเลยทีเดียว.
นอกจากหลุมศพหรือสุสานอนุสรณ์ที่มีความหมายสำคัญเชิงประวัติศาสตร์และที่ยังคงมีองค์กรหนึ่งองค์กรใด ยินดีดูแลเรื่องค่าใช้จ่ายในการทำนุบำรุงสุสาน, การฝังศพที่นั่นคือการเช่าที่ดินในนั้น แต่ละแปลงมีกำหนดไม่เกิน25-30 ปี. หลังจากนั้นพื้นที่ที่เช่าไว้ จะถูกรื้อปรับสภาพดินและพื้นที่ใหม่และปล่อยเช่าให้แก่รายใหม่ต่อไป. สุสานนี้มีพื้นที่กว้าง สงบร่มรื่นเหมือนอุทยานภูมิทัศน์แห่งหนึ่งที่พัฒนาขึ้นดีกว่าสุสานต้นแบบแปร์ลาแช้สที่กรุงปารีส ที่คับแคบลงและไม่มีทางขยับขยายไปไหนได้เลย.
ภายในอาคารวัดหรือวิหาร มีมุมจัดเป็นที่เก็บอังคาร เก็บไว้ในตู้ดังตัวอย่างบนกำแพงด้านซ้ายในภาพข้างบนนี้ (เหมือนหอพักหรือคอนโดสำหรับผู้ตาย) และยังมีอีกมุมหนึ่งที่จัดเป็นที่เก็บอังคารในผะอบหรือกระปุก ที่เหมือนแจกันทรงสูงมีฝาปิดดังที่เห็นบนหิ้งด้านขวาของภาพข้างบนนี้. มีแท่นเทศน์สำหรับพระผู้ประกอบพิธีตรงกลางภาพ. (อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับสุสาน Ohlsdorfer Friedhof, Hamburg ได้ในเน็ต)
Chahar bagh [จาฮา บ๊าก] เป็นคำในภาษาเปอเชีย
ใช้เรียกสวนเปอเชียที่แบ่งพื้นที่สี่เหลี่ยมจัตุรัส(หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า)
เป็นสี่เหลี่ยมย่อยขนาดเท่าๆกันอีกสี่ส่วน.
คำนี้ยังใช้โยงไปถึงสวนสี่เหลี่ยมของอิหร่านและสวน Mughal (ยุคราชวงศ์ Mughal เป็นยุคที่อิสลามเปอเชียมีอำนาจครอบครองประเทศอินเดียตั้งแต่ปี
1526
และสิ้นสุดลงในกลางศตวรรษที่ 19). แบบสวน Chahar bagh ที่เก่าที่สุดที่เหลือมาให้เห็นอยู่ในอิหร่านที่เมือง Passargadae. ปรากฏว่าอินเดียเป็นประเทศที่อนุรักษ์แบบสวน Mughal ไว้ได้ดีเยี่ยมกว่าที่ใด
และเราไปชื่นชมได้สะดวกตามราชสถานต่างๆในอินเดีย. สนใจดูรายละเอียดเกี่ยวกับศิลปะการสร้างสวนอาหรับได้ตามลิงค์นี้.
Charmille
[ชะ-ร-มี-ย] เป็นคำฝรั่งเศส มาจากคำ charme ที่แปลว่า สิ่งที่อาจล่อให้หลงใหลเหมือนอยู่ใต้อำนาจของเวทมนตร์คาถา. ในบริบทสวน มีความหมายตรงกับคำ hedge ในภาษาอังกฤษ.
นั่นคือรั้วต้นไม้สูงๆ
ที่ขลิบให้สูงเสมอกันและตอนบนราบเรียบโดยตลอด. คำนี้ในภาษาฝรั่งเศสยังอาจหมายถึงทางเดินหรือรั้วที่ดึงดูดใจหรือมุมเขียวชอุ่ม.
Chhatri/Chatri เป็นคำจากภาษา Mughal และฮินดู แปลว่า ร่ม
(มาเป็นคำ “ฉัตร” ในภาษาไทย). ในบริบทสวน ใช้หมายถึงอาคารที่มีหลังคาประดับด้วยโดมที่ยกขึ้นเหนือหลังคา มีรูปทรงคล้ายร่มหรือฉัตรในสวน
Mughal ของอินเดีย แต่ chatri
นี้ไม่จำเป็นต้องเป็นทรงกลมเหมือนร่ม อาจเป็นเหลี่ยมๆก็ได้ เป็นองค์ประกอบสถาปัตยกรรมประดับเหนือหลังคาของวัด
สุสานหรือสุเหร่า พบทั่วไปในอินเดีย.
ภาพตัวอย่างของหอแบบโล่งหรือศาลาหลังคาทรง
“ฉัตร” ที่พระราชวัง Jahangiri Mahal ในพื้นที่กว้างใหญ่ของ Agra Fort (สร้างแล้วเสร็จในปี1573) เป็นตัวอย่างยอดเยี่ยมของสถาปัตยกรรม Mughal.
-----------------------------------
Comments
Post a Comment