B-5 Bridge

Boulingrin [บูแล็งแกร็ง] เป็นคำฝรั่งเศส กร่อนมาจากคำเต็มว่า “bowling green” เป็นพื้นสนามหญ้า แต่เดิมใช้เป็นที่เล่นเกมส์บอลล์  แต่ปัจจุบันปล่อยเป็นพื้นสนามหญ้าทั้งผืนภายในสวนหรืออุทยานขนาดใหญ่. การมีสนามหญ้าผืนใหญ่ ยืนยัน“ความยิ่งใหญ่”ของผู้เป็นเจ้าของ. สนามหญ้า boulingreen อยู่ต่ำกว่าระดับพื้นรอบข้าง สนามนี้เคยเป็นสนามหญ้าล้วนๆ หรือประดับตกแต่งด้วยแปลงดอกไม้สองข้างรอบๆขอบสนาม. การทำสนามแบบนี้มีมาตั้งแต่ยุคกลางแล้ว แต่การเล่นเกมส์บอลล์ที่คล้ายๆกับโบว์ลิ่งที่เรารู้จักในสมัยปัจจุบันนั้น สืบสาวกลับไปถึงยุคโบราณในอีจิปต์ ฟินแลนด์ และเยเมน. นอกจากนี้ยังพบร่องรอยการเล่นโบว์ลิ่งในเยอรมนีราวศตวรรษที่3. ส่วนการจัดกฎระเบียบการเล่นโบว์ลิ่งสมัยใหม่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 9 เดือนกันยายน ปี1895 ที่ New York สหรัฐอเมริกา (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย).
ภาพพื้นที่ boulingrin หรือ bowling green จากอุทยานตำหนัก Belvedere (เวียนนา ประเทศออสเตรีย) ที่นั่น ประดับด้วยพุ่มไม้เล็กๆตัดเป็นทรงกลม แบบเรียบๆ.  
ภาพสนาม boulingrin จากพระราชอุทยาน Schönbrunn
(เวียนนา ประเทศออสเตรีย).

Bower เป็นที่นั่งในสวน มีใบไม้ปกคลุม. เดิมเป็นสิ่งประดับสวน มิได้ใช้นั่งจริงๆ แต่ปัจจุบัน เปลี่ยนไปเป็นที่นั่งที่มีต้นไม้ พุ่มไม้ หรือไม้ดอกล้อมรอบเดี๋วนี้ หลายคนนิมใ้ผืนหญ้า(จริงหรือเทีม) ปูที่นั่งในสวน และโดเฉพาะเมื่อเป็นอัฒจันทร์.
ภาพจิรกรรมน้อของ Giovanni Boccaccio (ในกวีนิพนธ์เรื่อง Teseida ้นศวรรษที่14, หนังสือนี้อู่ที่หอสมุดแห่งชาติกรุงเวียนนา (Nationalbibliothek, Wien) แสดงพื้นที่สวนในยกลางรีนางหน่ง(ชื่อ Émilie) ในสวนกุหลาบ นั่งร้อยพวงมาลัยบนที่นั่งที่ปูหญ้า (turf seats) ที่นั่งแบบนี้เป็นเอกลักษณ์หนึ่งในสวนยุคกลาง. ด้านซ้ายของภาพ มีนักโทษสองคนแอบมองเธอ.
ภาพจาก Le Clos Alexandre, Amiens ประเทศฝรั่งเศส.
กำกับไว้ว่า Marguerite au lit เพิ่มจินตนาการโรแมนติกของผู้ทำ.
ภาพจากอุทยาน Chatsworth (Derbyshire, United Kingdom)  มุมหนึ่งจัดเป็นหย่อมสวนภายในบริเวณบ้าน (cottage garden) เก้าอี้และโต๊ะปลูกหญ้าคลุมไว้ ให้เป็นองค์ประกอบประดับสวน.

ภาพบนจากอุทยาน Dessau-Wörlitz Gartenreich มุมหนึ่งปลูกพันธุ์ไม้ล้มลุกแบบเตี้ยๆเป็นสามระดับสามสีต่างกัน แบบโค้งนิดๆ ปลายสองข้างทำเหมือนพนักท้าวแขนโอบแนวแปลงดอกไม้ไว้. เทียบกับที่นั่งหินอ่อน(รูปถัดลงมา)ที่พระราชอุทยาน Sanssouci (Potsdam, Germany). อุทยาน Dessau-Wörlitz Gartenreich สร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่18 ในสมัยของ Duke Leopold III (1740-1817) แห่งตระกูล Anhalt-Dessau ตามแบบสวนอังกฤษแห่งแรกๆในเยอรมนีและในภาคพื้นยุโรป. พื้นที่อุทยานเท่ากับ142ตารางกิโลเมตร. อุทยานนี้อยู่ติดเมืองเล็กๆชื่อ Wörlitz ได้รับการขึ้นทะเบียบเป็นมรดกโลกของยูเนสโกในปี 2000. ในทศวรรษที่ผ่านมา มีการบูรณปฏิสังขรณ์อย่างต่อเนื่องเพื่ออนุรักษ์อุทยานขนาดใหญ่นี้ไว้ให้เหมือนแบบดั้งเดิมในศตวรรษที่18.
ต้นไม้ที่ตัดแต่ง (topiary) จัดเป็นห้องนั่งเล่น มุมน้ำชาหรือไวน์ 
ที่สวน Les Jardins de Séricourt (Nord Pas-de-Calais, France)
เก้าอี้นวมปลูกหญ้า จากมหกรรมพืสวนโลก (The Floriade World Horticultural Expo) ที่ Venlo ประเทศเนเธอแลนด์ ที่จัดสิบปีรั้งเท่านั้นภาพนี้่าเมื่อปี 2012 (เริ่ม้นรั้งแรกในปี1960).

Bract  คำนี้ใช้เรียกดอกไม้ที่มีรูปร่างเหมือนกับใบไม้ของมันเอง เช่นดอกเฟื่องฟ้า ดอก poinsettia สีแดงที่เราเรียกว่าต้นคริสต์มาส ดังภาพข้างล่างนี้.

Bridge  สะพานในสถาปัตยกรรมเมือง เป็นองค์ประกอบที่ประดับสวนและอุทยานที่สำคัญอย่างหนึ่ง โดยเฉพาะในแบบสวนอังกฤษตั้งแต่ศตวรรษที่17 เป็นต้นมา. อาจเป็นสะพานหิน หรือสะพานไม้ (ในสวนสมัยปัจจุบัน เคยเห็นเป็นสะพานเชือก) ทั้งแบบคลาซสิกหรือแบบใหม่ๆ (เช่นสะพานแขวน) รวมทั้งแบบจีนแบบญี่ปุ่น ก็เป็นที่นิยมกันแพร่หลายในยุโรป. สะพานแบบจีนหรือญี่ปุ่นกลมกลืนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของสวนตะวันตกได้เป็นอย่างดี เช่นสะพานแบบญี่ปุ่นที่จิตรกรโมเนท์ (Claude Monet, 1840-1926 ผู้วางรากฐานของศิลปะ Impressionism) สร้างประดับสวนบัวของเขาที่ Giverny. อย่างไรก็ดี  แบบสะพานที่ขึ้นหน้าขึ้นตาที่สุดในอุทยานอังกฤษขนาดใหญ่ๆ คือแบบที่เรียกกันว่า Palladian bridge. ดั้งเดิมเป็นสิ่งก่อสร้างเชื่อมสองฝั่งน้ำ ที่เป็นผลงานการออกแบบของ Andrea Palladio (cf.เมือง Vicenza ในอิตาลี). แต่ในบริบทของสวนหรืออุทยานอังกฤษนั้น สะพานแบบนี้สื่อความหมายนัยสัญลักษณ์มากกว่าจะทำหน้าที่เชื่อมสองฝั่งน้ำอย่างจริงจัง อีกประการหนึ่งมักถูกปิดกั้น ห้ามคนผ่านขึ้นลงเพราะเหตุผลบางประการ จึงเป็นองค์ประกอบประดับสวนมากกว่า  ในขณะที่สะพานไม้แบบจีนหรือญี่ปุ่นเปิดให้คนผ่านไปมาได้ เชื่อมพื้นที่สองฝั่งซึ่งมักจัดเป็นสวนคนละแบบกัน. ภาพตัวอย่างข้างล่างนี้ ยืนยันว่า สะพานเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ยกระดับหน้าตาของสวน เพิ่มความงามสุนทรีย์เข้าไปในภูมิทัศน์และนัยของการข้ามน้ำยังอาจสร้างอารมณ์สะเทือนได้อีกด้วย. 
ภาพสะพานในอุทยาน Drummond Gardens (Perthshire, UK.) สร้างเป็นแบบสถาปัตยกรรมเพื่อประดับสวนโดยไม่มีธารน้ำใดๆ  ดูคล้ายกำแพงป้อมเมือง มองลอดสะพานไปเห็นเป็นสนามหญ้า ปลูกต้นไม้เป็นระยะๆ.
สะพานโค้งเหนือน้ำตกที่สร้างขึ้นให้เป็นจุดชมทิวทัศน์และน้ำตก
ในอุทยาน Wilhelmshöhe เมือง Kassel ประเทศเยอรมนี.
สะพานสีเขียวๆที่เห็นไกลๆ (ที่นั่นเรียกว่าสะพานแบบญี่ปุ่น) สร้างข้ามสองฝั่ง
ของสระบัวของจิตรกรโมเนท์ ที่เมือง Giverny (ประเทศฝรั่งเศส).
สะพาน Palladian bridge ในอุทยาน Prior Park (เมือง Bath ประเทศอังกฤษ) เป็นสถาปัตยกรรมสะพานที่เด่นกว่าแบบอื่นใดในทัศนียภาพสวนและอุทยานอังกฤษ.
ภาพสะพานจากอุทยานภูมิทัศน์ Stourhead (เมือง Stourton, Wiltshire ประเทศอังกฤษ) เรียกกันว่า Palladian bridge เช่นกัน. เมื่อเดินเข้าไปดูใกล้ๆ จึงเห็นว่าเป็นสะพานปลูกหญ้า ต่อเป็นผืนเดียวกับสนามหญ้าสองฝั่ง (เรียกว่า turf bridge). จะเห็นว่าการเรียกสะพานบางทีก็เรียกตามหน้าที่ที่เชื่อมสองฝั่ง เป็น palladian bridge บางทีก็เรียกตามวัสดุที่ใช้ในการทำสะพาน เป็น stone bridge(สะพานหิน), turf bridge (สะพานปูหญ้า)
ภาพแม่น้ำ Cam ที่ไหลผ่านด้านหลังของสถาบันการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ จึงเรียกบริเวณสองฝั่งน้ำนี้ว่า The Backs (เช่นพื้นที่ด้านหลังของ St John College, Clare College, King’s College, Queens’College, Trinity College). พื้นที่ด้านหลังนี้เคยเป็นที่เลี้ยงสัตว์และ/หรือเป็นสวนลไม้. ไม่ทุกสถาบันที่มีพื้นที่ทั้งสองฝั่งแม่น้ำ Cam แต่ละสถาบันมีสะพานข้ามไปมาได้ สะพานที่มีชื่อเสียงคือสะพาน Bridge of Sighs ตั้งชื่อเลียนตามชื่อสะพานที่เมืองเวนิส แต่ในความหมายว่า นักศึกษาเดินผ่านไปมาบนสะพานพร้อมเสียงทอดถอนใจเพราะกลัวสอบตกหรือไม่เก่งไม่เด่นเท่าที่ต้องการเป็นต้น. ภาพที่เห็น เป็นสนามทั้งสองฝั่งของ King’s College. สนามราบเรียบเป็นพื้นที่พักผ่อนของเหล่านักศึกษา. (พื้นที่สองฝั่งแม่น้ำ Cam ที่โดดเด่นที่สุดและน่าอภิรมย์ยิ่งเมื่อเทียบกันทุกสถาบันแล้ว คือด้านหลังของอาคารใหญ่ของ Clare College เพราะจัดสวนไว้ดียิ่งทั้งสองฝั่ง). ในฤดูร้อนนักศึกษาหลายคนรับจ้างถ่อเรือให้แก่เหล่านักท่องเที่ยวพร้อมทั้งแนะนำเกี่ยวกับสถาบันต่างๆในเมืองแคมบริดจ์และชีวิตของนักศึกษาและชาวเมือง.
สะพานเชื่อมฝั่งในสระน้ำใหญ่ ภายในอุทยานปราสาท Blair Castle (Perthshire, Scotland)
สะพานขาวโดดเด่นในภูมิทัศน์ที่อุทยาน Dessau-Wörlitz Gartenreich
(Wörlitz, Germany).

Broderie หรือ parterre de broderie  คำ broderie หมายถึงการเย็บปักถักร้อย คำ parterre ตามคำศัพท์แปลว่า“ที่สูงเรี่ยๆพื้น”. บางทีใช้เพียงสั้นๆว่า parterre [ปารฺแต-รฺ]. การปัก พื้นสวนให้เป็นลวดลาย พัฒนาขึ้นมาจากการจัดพื้นสวนเป็น knot garden ในยุคกลาง (สวนปมในยุคกลางนั้นปลูกพืชหลายประเภทหลายพันธุ์ปะปนกันในแต่ละแปลง (มักเป็นพันธุ์ไม้สมุนไพร) แต่ละแปลงมีแนวต้นไม้เตี้ยๆกั้นเป็นขอบ ส่วนใหญ่ใช้ต้น boxes หรือไม้เนื้อแข็งพันธุ์อื่นๆที่ขึ้นช้าๆ ตอนบนตัดเรียบเสมอกัน. ปลายศตวรรษที่16  Etienne Dupérac ได้เนรมิตแบบการจัดพื้นสนาม(พื้นสวน) ด้วยการแบ่งพื้นที่ออกเป็นแนวเป็นแปลงเล็กๆ เชื่อมหรือเกี่ยวไขว้กับแปลงดินอื่นๆ (ดูที่คำ bed). การจัดแปลงดินทั้งหมดอย่างไรนั้น ต้องคิดแบบหรือลวดลายที่ต้องการเนรมิตไว้ก่อน เหมือนการคิดแบบลายปักบนผ้าในงานเย็บปักถักร้อย รวมถึงการเลือกใช้สีด้ายที่จะปักตรงนั้นตรงนี้ในสายที่คิดไว้. การจัดพื้นสวนให้เป็นลายก็ทำในทำนองเดียวกัน. ลวดลายของพื้นสนามจึงเป็นสิ่งประดับตกแต่งสวนแบบหนึ่งในตัวเอง. ลวดลายสำหรับจัดแปลงดิน ส่วนใหญ่ใช้รูปลักษณ์ธรรมชาติ รูปใบไม้ ดอกไม้ ที่ประกอบกันอย่างกลมกลืน อย่างมีศิลป์ แล้วโรยกรวดหรือก้อนหินขนาดเล็กๆสีต่างๆลงในแปลงดิน ลวดลายก็โดดเด่นขึ้นทันทีเป็นรูปลักษณ์ชัดเจน ในแบบเดียวกับการใช้ด้ายสีต่างๆปักบนผ้าเพื่อเน้นลวดลาย. บางทีแทนการใช้กรวดหรือก้อนหิน อาจปลูกดอกไม้สีเดียวกันลงในแต่ละแปลง  การจัดสีดอกไม้ในแต่ละแปลงก็เพื่อเน้นให้ลวดลายดูเด่นขึ้นนั่นเอง. นอกจากลายเรขาคณิตที่เกี่ยวก้อยกันอย่างสม่ำเสมอและมั่นคง หรือลายเส้นลูกคลื่นที่สอดไขว้ไปมาที่สื่อนัยของสิ่งลื่นไหล (แบบ arabesque) ยังอาจจัดลายเป็นสัญลักษณ์แบบใดแบบหนึ่ง เพื่อสื่อความหมายเฉพาะของสวนนั้น หรือที่เจ้าของสวนนั้นต้องการประกาศให้รู้ เช่นจัดเป็นรูปลักษณ์ของดอกลิลลี หรือรูปมงกุฎสื่อโยงไปถึงราชนิกูลเป็นต้น. ในประเทศอังกฤษโดยเฉพาะ ลวดลายของแปลงดิน ยังอาจทำเป็นข้อความ ตัวอักษรหรือตราประจำตระกูล เหมือนการปักชื่อบนผ้าเช็ดหน้า.  เท่าที่เห็นมักเป็นคำขวัญประจำราชตระกูลที่มีทั้งเป็นสำนวนละตินและสำนวนอังกฤษ. 
     ผู้เนรมิตลวดลายบนพื้นสวนที่มีชื่อเสียงชั้นครูในยุคนั้น เป็นนักจัดอุทยานชาวฝรั่งเศสสามคน อันมี Claude Mollet, André Le Nôtre และ Alexandre-Jean-Baptiste Le Blond. ผลงานที่สวยงามที่สุดอยู่ที่พระราชอุทยาน Hampton Court ชานกรุงลอนดอน (ประเทศอังกฤษ) และที่พระราชอุทยาน Versailles ชานกรุงปารีส (ประเทศฝรั่งเศส). ความนิยมในการจัดลวดลายเหมือนแบบปักบนพื้นสวนแบบนี้ คลายลงในศตวรรษที่18 เมื่ออังกฤษสร้างสวนภูมิทัศน์ขึ้นเป็นครั้งแรก เป็นวิธีการจัดสวนและการสร้างสวนแบบใหม่ที่ยังไม่เคยมีผู้ใดทำมาก่อน.
Parterre แบบหนึ่งภายในพระราชอุทยาน Het Loo ลวดลายเป็นมงกุฎ ใช้พุ่มไม้เขียวปลูกติดต่อกันจนแน่นและให้สูงขึ้นจากพื้นเพียงเล็กน้อย แล้วตัดผิวหน้าพุ่มไม้เสมอกันโดยตลอด. ที่นั่นเคยเป็นที่ประทับของกษัตริย์แห่งประเทศเนเทอร์แลนด์. ในภาพนี้ ไกลออกไปเห็นธงชาติของประเทศพลิ้วสะบัดเหนืออาคารพระราชฐาน. ปัจจุบันเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้. 
ภาพ parterre บนพื้นสนามในพระราชอุทยาน Charlottenburg กรุงแบร์ลิน. ขอบของลวดลายใช้พุ่มไม้สีเขียวตัดเตี้ยมากให้เสมอกัน ปิดล้อมสนามและเป็นเส้นแบ่งลายแบ่งสี แล้วเติมกรวดสีก้อนเล็กๆให้เต็ม สลับสีต่างๆตามลายที่เตรียมไว้ก่อน. ดูสวยสะอาดตาดีเหมือนกัน และไม่เปลืองแรงงานคนสวนด้วย. มองพื้นสวนโดยรวมแล้ว เหมือนพรมปูผืนใหญ่. (ดูที่คำ carpet bedding ประกอบด้วยในหมู่อักษร C ต่อไป).
ภาพ parterre จากอุทยาน Pitmedden Garden (เมือง Ellon,  Aberdeenshire, Scotland). เป็นลายที่ประกอบด้วยสัญลักษณ์ประจำตระกูล Pitmedden ในมุมบนขวากับมุมล่างซ้ายที่เห็นเป็นกากบาไขว้ กับสัญลักษณ์ของสก็อตแลนด์ในมุมบนซ้ายกับมุมล่างขวาที่เป็นรูปดอก thistle. ในสี่เหลี่ยมตรงกลาง มีตราประจำตระกูล พร้อมด้วยข้อความในภาษาละติน กับปีสำคัญของตระกูล (1675). ลวดลายปาร์แตร์นี้ ในบางช่องปลูกดอกไม้สีเหลืองประดับภายในตามแบบที่กำหนดไว้. เนื่องจากไม่สามารถถ่ายให้เห็นลวดลายที่เต็มครบจากมุมสูง จึงนับว่าโชคดีที่มีเอกสารและนิทรรศการอธิบายการจัดสวนและการทำปาร์แตร์ ในอาคารเล็กๆหลังหนึ่งในบริเวณสวนที่นั่น ให้รายละเอียดและประวัติอันน่าภูมิใจที่ตระกูลเก่าตระกูลนี้พยายามรักษาธำรงไว้จนถึงปัจจุบัน.  
ภาพปาร์แตร์จากสวน Drummond Gardens ในสก็อตแลนด์ ประดับด้วยดอกไม้สีสันสวยงาม ดูจะเน้นลักษณะสามเหลี่ยมคลี่ออกแบบพัด. ต้นไม้ที่ประดับสวนก็ตัดเล็มเป็นรูปทรงกลมป้อมๆบ้าง ทรงตั้งตรงบ้าง.
ภาพจากอุทยานปราสาท Ludwigsburg ในเยอรมนี ลวดลายของ barockerbroderie (ดังกำกับไว้ในภาษาเยอรมัน) ยุคศตวรรษที่18 มีเส้นโค้งเว้าเหมือนลื่นไหลไปมาบนพื้นสีขาว ถือกันว่าเป็นแบบ parterre ยุคบาร็อคที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในยุโรป. ที่น่าสนใจคือมีกำแพงต้นไม้หนาล้อมรอบสองด้าน ที่เจาะเป็นโพรงลึกและกว้างเหมือนแอ่งเว้าเข้าไปต่อเนื่องกันเป็นระยะๆ แต่ไม่ทะลุถึงกัน ภายในเป็นที่เลี้ยงนกประเภทต่างๆ นับเป็นกรงนกที่ไม่เหมือนใครอื่น. 
ภาพ parterre สีสดใสจากสวนบริเวณที่เรียกว่า Kammergarten ปีกตะวันตกของพระบรมมหาราชวัง Schönbrunn (กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย). พื้นที่บริเวณนี้เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีทางเดินขนาบสองข้าง เป็นทางเดินภายในอุโมงค์ต้นไม้ ที่เจาะหน้าต่างเป็นระยะๆ ให้คนชมสวนชะโงกหน้าออกไปชื่นชม parterre ได้.
พระราชอุทยาน Schönbrunn (กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย) เริ่มสร้างระหว่างปี 1696-1700 และบูรณะกับขยับขยายอีกในศตวรรษที่18. ภาพนี้ถ่ายจากที่สูงหลังสระน้ำเนปจูนขนาดใหญ่ ลงไปยังลานกว้างใหญ่ของสวนที่ทอดทั้งกว้างและยาวจากอาคารพระตำหนักใหญ่. parterre ที่นั่นเป็นลวดลายแบบง่ายๆ จึงเน้นการใช้สีดอกไม้สดๆเข้าไปช่วยเชิดชูให้เด่นขึ้น.
Parterre ที่สวนในวิลลา Villa Ephrussi de Rothschild (สร้างขึ้นระหว่างปี 1905-1912). วิลลานี้ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล Frech Riviera ที่เมือง Saint-Jean-Cap-Ferrat. เป็นแบบที่เรียบง่าย เรียบร้อยและสวยขรึมๆ. ความเรียบง่ายเป็นความงามที่น้อยคนในยุคปัจจุบันเข้าใจ.
ปาร์แร์สวงามในพื้นที่เล็กนิดเดีวระหว่างกำแพงเก่ากับัวอาารปราสาท วรรษที่ 13 บนเนินเขาหมู่บ้าน Gruyères ประเทศสวิตเซอแลนด์.

Brownian  เป็นคำคุณศัพท์ที่สร้างขึ้นจากชื่อเฉพาะของ Lancelot Brown ผู้ได้สมญานามว่า Capability Brown (1716-1783). เขาเป็นสถาปนิกภูมิทัศน์ผู้โด่งดังของอังกฤษในช่วงปี 1750-80. ความหมายของคำ brownian คือตามแบบของ Lancelot Brown ซึ่งคือแนวการสร้างสรรค์แบบลดเลี้ยว ที่กระตุ้นอารมณ์โรแมนติกอันเป็นเอกลักษณ์หนึ่งในกลางศตวรรษที่ 18”
ตัวอย่างสวนภูมิทัศน์ที่ Lancelot Brown เป็นผู้ออกแบบและที่อยู่ในอังกฤษเช่น อุทยาน Stowe (Buckinghamshire), The Trentham Estate (Stoke-on-Trent, Staffordshire), Chatsworth House (Derbyshire), Harewood (Yorkshire), Blenheim Palace (Oxfordshire) ยังมีอีกจำนวนมาก ล้วนน่าชม.
    โลกทัศน์ของเขาพลิกค่านิยมที่เคยมีมาในอังกฤษ และเปิดศักราชใหม่แห่งการสร้างสรรค์ภูมิสถาปัตยกรรมตั้งแต่นั้นมา มีผู้รับแนวการสร้างสรรค์ของเขาและพัฒนาสืบต่อมา. สรุปหลักการของเขาสั้นๆได้ดังนี้ :-
๑) ให้มีสนามหญ้าเขียวกว้างใหญ่ (อาจเป็นสนามลาดเอียงหรือไม่ก็ได้) ที่ทอดจากตัวอาคารใหญ่หรือจากตัวบ้านออกไป  
๒) มีต้นไม้ใหญ่ปลูกเป็นจุดๆ หรือรวมกลุ่มกันเป็นหย่อมๆ และโดยเฉพาะบนเนินเขา  
๓) ปลูกต้นไม้ใหญ่โอบรอบพรมแดนของที่ดินผืนนั้น
๔) มีถนนวงแหวนขนาบไปรอบๆพรมแดนของพื้นที่  
๕) เนรมิตทะเลสาบกลางที่ดิน ให้ดูเหมือนเป็นทะเลสาบธรรมชาติ 

Buffet d’eau [บุฟเฟ่โด] เป็นคำฝรั่งเศส หมายถึงประติมากรรมน้ำประดับสวนที่สร้างเป็นขั้นๆหรือเป็นระดับ น้ำพุที่พุ่งขึ้นจากยอดสูง ไหลลงเหมือนน้ำตกเป็นขั้นๆสู่สระน้ำ. 
ทั้งสองภาพนี้จากสระน้ำพุปิรามิด - Fontaine de la Pyramide
ในพระราชอุทยานแวรซายส์ (ปารีส ประเทศฝรั่งเศส). 
สระน้ำ Bassin de Latone [บั๊สแซ็ง เดอ ลาต็อน]
ในพระราชอุทยานแวรซายส์เช่นกัน.

Burj  คือป้อม ที่เป็นอาคารประดับสวนแบบหนึ่งตามค่านิยมของอินเดีย.  

Bust รูปปั้นครึ่งตัว มักวางตั้งบนฐานหรือเสาหินที่ไม่สูงเกินระดับความสูงเฉลี่ยของชาวยุโรป  หรือตั้งภายในแอ่งหรือซุ้มในกำแพง (niche) หรือภายในโพรงไม้ที่ตัดเป็นซุ้มเพื่อการนี้โดยเฉพาะ.   
จากอุทยานภูมิทัศน์ Stowe (Buckinghamshire ประเทศอังกฤษ) อาคารทรงโค้งเกือบครึ่งวงกลม เป็นอาคารหนึ่งในอุทยาน มีชื่อเรียกเฉพาะเจาะจงว่า Temple of British Worthies เพื่อเป็นอนุสรณ์และยกย่องสรรเสริญบุคคลดีเด่นในประวัติศาสตร์อังกฤษ. ชื่อของบุคคลทั้งหมด16 คนจารึกไว้ใต้รูปปั้นครึ่งตัว ตามลำดับจากซ้ายสุดไปยังขวาสุด ดังนี้ Alexander Pope,
Sir Thomas Gresham,
Ignatius Jones,
John Milton,
William Shakespeare,
John Locke,
Sir Isaac Newton,
Sir Francis Bacon-Lord Verulam,
King Alfred,
Edwrad Prince of Wales - The Black Prince,
Queen Elizabeth I,
King William III,
Sir Walter Raleigh,
Sir Francis Drake,
John Hamden และ Sir John Barnarti.
(ผู้สนใจอยากรู้ว่าใครมีคุณงามความดีหรือโดดเด่นในแขนงใด หาข้อมูลต่อได้ไม่ยากจากเพจต่างๆในเน็ต).
ภายในอุทยานเดียวกัน มีอีกอาคารหนึ่งชื่อว่า Temple of Ancient Virtues ประดับด้วยรูปปั้นเต็มตัวของบุคคลผู้เป็นสัญลักษณ์แห่งคุณงามความดีในโลกโบราณ เช่น Homerus, Framinondas เป็นต้น (เนื่องจากชื่อที่ตรงกับรูปปั้นแต่ละรูปนั้นเลือนลางเต็มที จึงไม่อาจจดมาได้ครบ).
ในบริเวณ Trianon พระราชวังแวรซายส์ มีสวนมุมหนึ่งที่จัดพุ่มไม้เป็นครึ่งวงกลม ทำเป็นแอ่งลึกเข้าไปสำหรับวางรูปปั้นครึ่งตัวบนฐานสูงเหมือนเสา ดังในภาพ. รูปปั้นใครบ้าง ไม่มีรายละเอียดกำกับไว้.

Buttress  มาจากคำฝรั่งเศส bouter ที่แปลว่า พยุงไว้. คำฝรั่งเศสมีคำ arc boutant [อ๊าก บูต็อง] ใช้เรียกสิ่งก่อสร้างที่เป็นเทคนิคสถาปัตยกรรมกอติคที่ฝรั่งเศสพัฒนาขึ้นเพื่อสร้างโบสถ์ใหญ่ๆตั้งแต่ศตวรรษที่12 ถึง14. เทคนิคนี้คือการสร้างเสาหนาและใหญ่ข้างนอกโบสถ์ ก่อเป็นเสาสูงขนานกับกำแพงเป็นสองแถว ห่างกันเป็นระยะเรียกว่า les contre-forts และสร้างแนวเชื่อมจากกำแพงโยงสู่เสาสองแถวนั้นเรียกว่า les arcs-boutants. เมื่อมองดูจากด้านหน้าหรือด้านหลังของโบสถ์ จะเห็น les contre-forts และ les arcs-boutants เหมือนปีกอาคาร. ปีกกำแพงนี้อาจเป็นอิฐหรือหินสกัด ทำหน้าที่พยุงและดันกำแพงอยู่ภายนอกอาคาร ช่วยถ่วงแรงต้านของกำแพงและของเพดานสูงโค้งที่อยู่ภายใน (อันประกอบด้วยเสาสูงโค้ง-les arcs ที่ก่อสร้างเชื่อมไปจรดกันบนเพดานทรงแหลมสูงโค้ง-les voûtes) เช่นนี้ทำให้สามารถยกหลังคาเพดานโบสถ์ขึ้นสูงไปได้อีก และทำให้เจาะกำแพงเป็นหน้าต่างบานสูงๆเรียงรายไปตลอดกำแพงสองข้างของลำตัวโบสถ์ เท่ากับเปิดให้แสงสว่างส่องเข้าไปภายใน หรือส่องผ่านหน้าต่างกระจกสี (stained glass windows) ที่ฝรั่งเศสพัฒนาเป็นเนรมิตศิลป์แบบหนึ่งในยุคกลางเช่นกัน. การเปิดกำแพงเป็นหน้าต่างกระจกเป็นเทคนิคฝรั่งเศสในสถาปัตยกรรมกอติค ที่ต้องการเน้นค่านิยมว่าพระเจ้าคือแสงสว่าง ที่ส่องนำทางชาวคริสต์. ภายในโบสถ์กอติคก็เนรมิตอย่างวิจิตรบรรจงด้วยศิลปะทุกแขนง เพื่อให้โบสถ์เป็นภาพสะท้อนของสรวงสวรรค์เป็นต้น.
ภาพจาก Pinterest.com แสดงองค์ประกอบ
และชื่อเรียกส่วนต่างๆในสถาปัตยกรรมกอติคอย่างย่อๆ
ในบริบทของสวน บางแห่งสร้าง องค์ประกอบบางอย่างของสถาปัตยกรรมกอติค เช่นเป็นอาคารกอติคขนาดย่อส่วน ที่มีหน้าต่างโค้งสูงแหลม มาเป็นอาคารประดับสวน ที่ เตือนให้นึกถึงสถาปัตยกรรมกอติค นึกถึงความสว่างไสวภายในโบสถ์กอติค หรืออาจเตือนให้ระลึกถึงศาสนา ถึงชีวิตอันไม่จีรังของคน มากกว่าจะเป็นอาคารเพื่อโชว์ศิลปะการก่อสร้างอย่างแท้จริง.
ภาพเสาโค้งสูงแหลมสามหยักเหมือนลายดอกจิกและหัวบัวลายแบบผสม. ลักษณะกอติคแบบหนึ่ง เอามาเป็นเสาประดับสวน Jardin Lapidaire (สวนหิน) ภายในวิลลา Villa Ephrussi de Rothschild (สร้างขึ้นระหว่างปี 1905-1912). วิลลานี้ตั้งอยู่ริมฝั่งทะเล Frech Riviera ที่เมือง Saint-Jean-Cap-Ferrat.  
ประติมากรรมหอคอยกอติคแบบย่อส่วน (เป็นหินชอล์ก) ประดับสระน้ำที่สวน Plantation Garden เมือง Norwich (East Anglia ทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงลอนดอน จนถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรม เมือง Norwich เคยเป็นเมืองใหญ่สำคัญรองจากกรุงลอนดอน).  
ภาพจากเพจ ferrebeekeeper.wordpress.com
แบบประดับจากสถาปัตยกรรมกอติค นิยมประดับสวนในยุควิคทอเรีย.
ภาพจาก Pinterest.com.
-----------------------------
LETTER C
C-1 >> Cabinet, Cacti house, Camellia house, Campagna, Canal, Canopy.
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/01/c-1-canal.html
เมนูหนังสือ ประมวลความรู้จากศัพท์อุทยานศิลป์
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/mygardenbook-menu.html



Comments