E-2 English Garden

Elysium มาจากตำนานกรีก หมายถึงแดนสุขาวดี ดินแดนแห่งความสุขนิรันดรของเหล่าคนดีในภพหน้า. อุทยานภูมิทัศน์ขนาดใหญ่เช่นที่ Stowe [สโตว] ( Buckinghamshire, UK) เนรมิตสนามหญ้าเขียวชอุ่มผืนยาวและกว้าง เพื่อสร้างภาพของสวรรค์ตามอุดมการณ์แห่งความสุขที่พรรณนาไว้ในวรรณกรรมยุโรป. อังกฤษมักเรียกสนามดังกล่าวว่า Elysium หรือ Elysian Field  (ในความหมายว่าเป็นสถานที่เอื้อให้คนอยู่ มีความสุขตามที่คาดหวังไว้).
   การที่ฝรั่งเศสเรียกถนนใหญ่สายสวยที่สุดของกรุงปารีสว่า ถนน Champs-Elysées [ช็อง-เซลีเซ่] (จากคำว่า champ ที่แปลว่า ทุ่ง + Elysium) เป็นไปตามค่านิยมดังกล่าวเช่นกัน. นอกจากเป็นถนนที่มีต้นไม้ใหญ่ประดับสองฝั่ง ตึกใหญ่สวยงามสองฝั่งถนนนี้เป็นที่ตั้งของบรรดาร้านขายสินค้าชื่อดังเกือบทุกชื่อ หรือเป็นสำนักงานสำคัญในด้านบริการสาธารณะ ที่เป็นดัชนีบอกค่านิยมของสังคมที่เปลี่ยนไปตามยุคสมัย ให้แง่คิดว่า ความสุขของคนในยุคปัจจุบันคืออะไร ความสุขของคนเอเชียคืออะไร.
   ตัวอย่างจากสถิติล่าสุดของฝรั่งเศส ให้ข้อมูลว่า ชาวฝรั่งเศสที่มีอายุสี่สิบปีขึ้นไป จะย้ายออกจากกรุงปารีส จากเมืองใหญ่ๆไปอยู่นอกเมืองในต่างจังหวัด ในถิ่นที่อากาศไม่ร้อนไม่หนาวเกินไป หรือไปอยู่ใกล้ชายฝั่งทะเลเมดิเตอเรเนียน.  ส่วนหนุ่มสาวที่ตั้งต้นชีวิตทำงาน จะย้ายเข้าไปอยู่ตามเมืองใหญ่ๆ. เมื่อเทียบกัน การย้ายเข้าสู่เมืองน้อยกว่าการย้ายออกจากเมือง. ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นว่า ความสุขของคนฝรั่งเศสที่ตั้งตัวได้แล้วและมีลูกเล็กๆ คือการกลับไปอยู่ในแวดล้อมธรรมชาติมากกว่า ดังคำพูดที่ว่า Le bonheur est dans les prés” (แปลตามตัวได้ว่า ความสุขอยู่ในทุ่งหญ้า). จนถึงปัจจุบันชาวฝรั่งเศส(ชาวอังกฤษและชนชาติยุโรปอื่นๆ) ยังคงใฝ่ฝันที่จะใช้ชีวิตในแวดล้อมของธรรมชาติเขียว.
ทุ่งหญ้ากว้างใหญ่ที่เห็นในสองภาพข้างบนนี้ คือทุ่งหญ้าที่เรียกกันว่า Elysian Field. ภาพจากอุทยานภูมิทัศน์ Stowe[สโตว] (Buckinghamshire, UK) จากทุ่งหญ้าบริเวณนี้ มองไปทางไหนจะเห็นจุดดึงดูดสายตาที่อยู่ไกลๆออกไป (ดูที่คำ eye-catcher) ล่อให้อยากรู้ว่ามีอะไรกันแน่ตรงนั้น. การจัดตั้งสิ่งดึงดูดสายตา เป็นเทคนิคการสร้างสวนอังกฤษอย่างหนึ่ง ที่ล่อให้คนออกเดินไปในทิศต่างๆ เดินไปบนสนามหญ้าเลย เป็นโอกาสของการเดินออกกำลัง ในขณะเดียวกันก็สูดอากาศบริสุทธิ์ รับสายลมแสงแดด และเพลิดเพลินกับผู้ร่วมเดินไปด้วย. ในภาพแรก เห็นสะพานแบบ Palladian Bridge สวสง่า ไกลออกไปเห็นหออีกสองแห่ง เรีกร้องวามสนใจจากไกลๆ.
อาารหลังาทรงกลม เิญวนให้ไปพิจารณาสถาปัตยกรรมและสิ่งที่มีอยู่ภายใน 
ภาพจากอุทยาน Stowe (Buckinghamshire, Uk)
สนามผืนใหญ่เมื่อมองจากด้านหนึ่งของอาคารปราสาท ทอดไปไกลมาก แต่ยังเห็นเสาโอเบลิซก์ ที่คอยให้คนเดินไปดูใกล้ๆ. Stourhead เป็นอุทยานภูมิทัศน์ผลงานสร้างสรรค์ที่โดดเด่นที่สุดอีกหนึ่งแห่งของ Lancelot Brown. (ดู English Garden ข้างล่างนี้)

Embankment  คือพื้นที่บนฝั่งหรือเนินดินที่ล้อมรอบทะเลสาบภายในสวนหรืออุทยาน ทำหน้าที่ป้องกันสวนไปด้วย ในที่สุดอาจเทียบเป็นเทอเรสสูงสำหรับกวาดตาชมทัศนียภาพ. เหมือนเมื่อออกจากสถานีรถไฟ Embankment ที่กรุงลอนดอน พื้นที่บริเวณนั้น เป็นท่าเทียบเรือที่สัญจรไปมาบนแม่น้ำเทมส์และเป็นที่หยุดชมทัศนียภาพสองฝั่งแม่น้ำเทมส์ด้วย.
ทางเดินริมฝั่งน้ำในสวน Queen Elizabeth Gardens ใกล้โบส์เมือง Salisbury (UK).

สองภาพนี้จากอุทานปราสาท Chenonceau [อนงโซ่] (Indre-et-Loire, France เป็นสาปัตยกรรมกอและเรอแนสซ็องส์ฝรั่งเศส) ปราสาทนี้ั้งบนฝั่งแม่น้ำ Cher. ัวปราสาทและพื้นที่สวนส่วนใหญ่ั้งอยู่บนแม่น้ำเล สวนปาร์แร์สองสวนในภาพ จงเหมือน“ปาร์แร์ลอยน้ำ” มีกำแพงหนุนเป็นขอบสูงและมั่นงเหนือระดับน้ำ.
ภาพจากอุทยานสไตล์แบบแผนกับสวนบาร็อคที่พระราชวัง Frederiksborg Slot ที่เมือง Hillerød (ทางเหนือของกรุงโคเปนเฮเกน, ประเทศเดนมาร์ก). สถาปนิก Johan Cornelius Krieger เป็นผู้ออกแบบ สร้างในระหว่างปี 1720-1725 ในรัชสมัยของพระเจ้า Frederik IV. พระราชวังนี้เคยเป็นที่ประทับของพระเจ้า Christian IV กษัตริย์แห่งเดนมาร์กและนอร์เวย์ในต้นศตวรรษที่17 เป็นพระราชวังสไตล์เรอแนสซ็องส์ที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มประเทศสแกนดิเนเวีย. ดูแนวทางเดินติดทะเลสาบและการปลูกหญ้าบนทางลาดที่เชื่อมพื้นที่ต่างระดับในสวนอย่างเรียบร้อยและงามตา.
ตึก“พุงโร”ที่ตั้งอยู่ตรงสะพาน Southwark Bridge ที่เชื่อมสองฝั่งแม่น้ำเทมส์ นำมาให้ดูวิธีการหนุนใต้ถนนที่เลียบฝั่งตรงนั้น (Southwark Bridge Road). ตึกพุงโรนั้น เป็นที่ตั้งของ The Nest Corporation. บนถนนสายนี้ มีร้านอาหารหลายร้าน.

Embroidery  ความหมายตรงตามตัวคือการเย็บปักถักร้อย. ในบริบทสวนหมายถึง รูปลักษณ์ของการจัดแต่งแปลงดอกไม้หรือแปลงสวนด้วยหญ้าหรือพันธุ์ไม้ ที่ให้ภาพรวมเหมือนลายปักที่ละเอียดสวยงาม (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่คำ Parterre de broderie ที่ลิงค์นี้).
ภาพจากสวน Wisley (Surrey, UK) มีมุมหนึ่งทำลายปักบนพื้นสนามหญ้า เป็นลายนกยูงรำแพนในกรอบ ลายถูกยกให้อยู่ในระดับสูงกว่าพื้นสนามเล็กน้อย โดยใช้พันธุ์ไม้คลุมดินสีต่างๆ. เป็นตัวอย่างของลายปักพืชพรรณ หรือ parterre de broderie ขนาดจิ๋ว.
ภาพจากอุทยาน Waddesdon Manor ใกล้เมือง Aylesbury ทางเหนือของกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ. บริเวณสวนด้านนี้จัดเป็นแปลงดินปาร์แตร์ เหมือนลายปักแบบกางเขนไขว้ นูนเหนือพื้นสนามหญ้า. ต้นไม้ที่ใช้ปลูกลงบนลายไขว้ เปลี่ยนไปตามฤดู จึงมีสีสันต่างกันในแต่ละฤดู แต่ลายนี้คงที่ไม่เปลี่ยน.
สวนเล็กๆที่เลียบถนน Rue Saint Martin ในเมืองโลซาน ประเทศสวิสเซอแลนด์. ภาพนี้ยิ่งเห็นชัดว่า ทำไมเขาจึงเรียกการจัดดอกไม้แบบนี้เป็น ลายปัก”.  นี่เป็นลายปักผีเสื้อ แขวนบนกำแพงสีเขียว เหมือนพรมปิดผนังในบ้านที่ชาวยุโรปนิยมกัน. แปลงดอกไม้ สร้างเป็นขอบทางเดิน ก็สวยงามไม่น้อย.


ริมทางเดินในสวนที่เป็นทางลาด มุมพอเหมาะทำเป็นนาฬิกาดอกไม้ และ ขวัญของเมืองว่า Enable (ในวามหมาว่า“สู้ สู้ ทำให้ได้”). ส่วนหนึ่งของสวน Princes Street Gardens (Edinborough, Scotland).

Enclosure  แนวปิดล้อม ในบริบทของสวนหมายถึงพื้นที่ที่มีรั้วล้อมปิดทุกด้าน และในความหมายกว้างออกไปหมายถึงสวนแบบปิด อาจมีประตูเข้าออกเพียงประตูเดียว. แบบสวนแบบแรกในยุคแรกๆของอารยธรรมตะวันตกและสืบทอดมาจนถึงยุคเรอแนสซ็องส์ เป็นสวนแบบปิดทั้งหมด (อันที่จริง สวนไม่ว่าในอารธรรมใดือสวนปิด มีรั้วล้อมรอบเสมอ).
    ในคัมภีร์ไบเบิลเก่าและในวรรณกรรมยุคกลาง สวนที่ปิดล้อมทุกด้าน เป็นภาพลักษณ์ของพรหมจรรย์ จึงมีนัยเกี่ยวโยงไปถึงความรัก การมีโอกาสเข้าถึงสตรีผู้เป็นที่รัก. ข้อเขียนที่มีชื่อเสียงที่สุดในเรื่อง“สวนปิด” อู่ในคัมภีร์เก่าบทรำพึงรำพันของกษัตริย์โซโลมอน (cf. Le Cantique des Cantiques, 4:12 แต่งขึ้นในราวศตวรรษที่11BCE. บางทีก็เรียกว่า Le Chant de Salomon). โซโลมอนเปรียบแม่นางผู้เป็นที่รักด้วยบทอัศจรรย์ที่ประณีตว่านางเป็นสวนปิด เป็นธารน้ำพุที่“ปิดผนึกไว้”จนถึงวันวิวาห์.
จิรกรรมน้อภาพนี้ผลงานของ Maître du Haut Rhin ั้งื่อไว้ว่า Le Jardin de Paradis หรือ สวนสวรร (เนรมิตขึ้นในระหว่างปี1410-20) ให้ราละเอีดของมวลดอกไม้นิด่างๆจำนวนมาก. ่านิมในลัทธิคาทอลิกเสนอภาพพระแม่มารี มีดอกไม้ห้อมล้อมเสมอ และอยู่ในพื้นที่ปิดล้อมเพื่อสื่อวามเป็นหญิงพรหมจารี์ของพระนาง.
สวนในยุคกลางเป็นที่ปิด มีประตูเข้าออกประตูเดียว ผู้หญิงถือกุญแจในมือ แสดงว่าเป็นผู้เลือกหรือผู้ตัดสินให้ใครเข้าไปได้. สนามหญ้าภายในสวน เป็นที่นั่งๆ(นอนๆ) มีสระน้ำพุรงกลาง. จิตรกรรมน้อยนี้จากศตวรรษที่15 ประกอบวรรณกรรมเล่มที่มีชื่อเสียงมากคือ Roman de la Rose (ที่เ็มไปด้วบทอัศจรร์ เปรีบเทีบผู้หญิง พาดพิงไปถึงความงามของสรีวามรัก วามหวัง วามผิดหวังฯลฯ).
ชายคนหนึ่งจูงเด็กหนุ่มไปที่ประตูสวน สตรีนางหนึ่งถือกุญแจในมือ เปิดประตูออกมาดู มีชื่อกำกับเหนือเธอว่า Natur(sic. ธรรมชาติ) มองข้ามรั้วสวน เห็นผู้หญิงสามคน มีชื่อกำกับพวกเธอไว้ให้เข้าใจ คนนั่งชื่อ Pallas(หรือ Minerva), คนยืนใกล้หอคอยชื่อ Juno, และคนเปลือยผู้ถือกระจกเงาในมือชื่อ Venus. ตัวละครทั้งสาม ทำให้นึกถึงเทพตำนานเมื่อ Paris ต้องกลายเป็นผู้ตัดสินว่า ใครสวยที่สุดในหมู่เทวีทั้งสาม. น่าหนักใจจริงๆ. บนฐานกำแพงประตูด้านซ้ายมีอีกชื่อหนึ่งเขียนไว้คือ Deduit บอกให้รู้ว่านี่คือสวน Le Jardin de Déduit ที่เป็นเหมือนภาพลักษณ์ของโลก. เรื่องราวทั้งหลายระหว่างหญิงและชายเกิดขึ้นในสวนปิดเสมอ. สวนจึงเป็นเวทีของกามตัณหา.
และเมื่อสวนมีสระน้ำพุ ก็เป็นที่ล้างหน้าล้างตัวของผู้หญิงด้วย การแอบดูผู้หญิง (ยิ่งเปลือยยิ่งยากจะห้ามใจได้) เป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่ง. เรื่องที่อื้อฉาวและอื้ออึงที่สุดที่จารึกลงในคัมภีร์เก่า คือเมื่อกษัตริย์เดวิด มองจากหน้าต่างเห็นนางบัธชีบา (Bathsheba) กำลังล้างเนื้อล้างตัว ตกหลุมรักทันทีและต้องการตัวเธอ. ดังที่เราเดาได้จากภาพข้างล่างนี้.


English garden สวนอังกฤษ. คำสรุปสั้นที่สุดอาจเป็นดังนี้ สวนอังกฤษเป็นสวนภูมิทัศน์ - landscape garden”. ก่อนศตวรรษที่18 แบบสวนในประเทศอังกฤษสร้างตามแนวนิยมแห่งยุค นั่นคือเลียนแบบสวนฝรั่งเศสและสวนดัตช์ ที่เป็นต้นแบบของการเนรมิตสวนในภาคพื้นยุโรปมาแล้วกว่าพันปี. จนถึงครึ่งหลังของศตวรรษที่18 สวนในประเทศอังกฤษจึงเป็นสวนแบบแผน (สั้นๆคือ การจัดพื้นที่เป็นระเบียบ เส้นตรงตัดแบ่งซ้ายขวาเท่ากัน รูปลักษณ์แบบเรขาคณิตฯลฯ) ดังเช่นสวนส่วนใหญ่ในยุโรป. Sir William Temple ดูเหมือนเป็นคนแรกที่แสดงความปรารถนาให้มีสวนที่เลียนแบบใกล้เคียงธรรมชาติมากขึ้น. ในหนังสือ Upon the Gardens of Epicurus ของเขา(พิมพ์ออกสู่ตลาดเป็นครั้งแรกในปี 1692) เขากล่าวยกย่องสวนแบบจีนตามความเชื่อและความเข้าใจของเขาในยุคนั้น(โดยที่เขาไม่เคยได้ไปเห็นสวนใดในประเทศจีน). ความเห็นของเขามีส่วนกระตุ้นจิตสำนึกชาวยุโรปเกี่ยวกับการสร้างสรรค์สวนแบบอื่นๆที่ไม่จำเป็นต้องตามขนบนิยมที่มีมาเสมอไป. 
     ต่อมา Alexander Pope (1688-1744  กวี นักเขียนเรียงความ นักวิจารณ์วรรณกรรม และนักเขียนเสียดสีสังคมชาวอังกฤษ) ได้เขียนเข้าข้างการสร้างสรรค์สวนโดยเลียนแบบ “ธรรมชาติที่น่าทึ่ง เรียบง่าย ไร้สิ่งประดับ” แทนสวนแบบแผน ในบทความที่พิมพ์ลงในวารสาร The Guardian (ฉบับปี 1713). ในปลายศตวรรษที่ 17 การออกแบบสวนจึงเบนออกจากความเคร่งครัดของขนบแบบแผน. ตัวอย่างแผนผังสวนที่ Ham House (ใกล้ Richmond ชานเมืองลอนดอน) ที่สถาปนิก Slezer และ Wyck ร่างขึ้นในปี 1671 แสดงให้เห็นว่า แม้เส้นทางสายใหญ่ๆภายในสวนยังคงกว้างและเป็นเส้นตรงตามขนบสวนแบบแผน แต่มีเส้นทางเดินสายเล็กและแคบหลายสายภายในสวนที่ทอดลดเลี้ยวไปในพื้นที่ที่ปล่อยให้เป็นป่าตามธรรมชาติ.
     แม้ว่าสวนในประเทศอังกฤษ พัฒนาขึ้นจากจินตนาการและความเข้าใจแบบคร่าวๆเกี่ยวกับสวนจีน ในความเป็นจริง การออกแบบและการบริหารจัดการพื้นที่สวนในอังกฤษ ได้อาศัยจิตรกรรมภูมิทัศน์ของยุโรปเป็นแบบอย่างมากกว่า. การเนรมิตภูมิทัศน์ในสวนอังกฤษนั้น เป็นผลงานนำร่องของนักออกแบบสวนสำคัญๆสามคนคือ William Kent, Lancelot (Capability) Brown และ Humphry Repton.
    William Kent (1685-1748) ใช้องค์ประกอบจากสถาปัตยกรรมกรีกและโรมันมาออกแบบสวนภูมิทัศน์ และได้อาศัยจิตรกรรมของ Claude Lorrain และของ Salvator Rosa เป็นตัวอย่างในการสร้างภูมิทัศน์. ปัจจัยสำคัญในการออกแบบของเขาคือ ลดกำแพงที่ล้อมรอบพื้นที่สวนลงไปอยู่ใต้ระดับพื้น ให้ตอนบนของกำแพงอยู่ระดับเดียวกับพื้นสวน. เขาเห็นว่า ธรรมชาติแวดล้อมทั้งหมดคือส่วนหนึ่งของสวนด้วย. เขาใช้วิธีขุดพื้นดินลงเป็นร่องลึกเหมือนคู ตลอดแนวพรมแดนสวนที่ต่อกับพื้นที่ข้างนอก(ที่มิได้เป็นส่วนหนึ่งของสวน)  อาจเสริมด้วยการก่ออิฐเป็นกำแพงกันพื้นดินถล่ม. ร่องลึกดังกล่าว ยังกันมิให้สัตว์เลี้ยงในทุ่งนาข้างนอกเดินเข้าไปในบริเวณสวนได้. เมื่อมองจากบริเวณสวนออกไป จึงไม่มีรั้วหรือกำแพงขวางสายตาหรือขีดคั่นภูมิทัศน์ เหมือนไม่มีสิ่งขวางกั้นระหว่างสนามหญ้าของสวนกับท้องทุ่งนาข้างนอก สายตามองผ่านพรมแดนสวนออกไปยังภูมิประเทศไกลออกไป เท่ากับว่าดึงภูมิประเทศข้างนอกพรมแดนมาเป็นมุมมอง เป็นทิวทัศน์ เป็นจุดดึงสายตาของสวนด้วย และเท่ากับขยายพื้นที่สนามหญ้าให้กว้างไกลออกไปสุดสายตาเช่นกัน. วิธีการนี้เรียกว่า การสร้าง “ha-ha คำนี้ตรงกับเสียงอุทานว่า ฮะฮ่า!” ที่นักออกแบบสวนคนอื่นๆเปล่งออกมาเมื่อได้เห็น ทั้งแปลกใจและชื่นชมความคิดในการสร้างสรรค์ดังกล่าวของ Kent.

ภาพกำแพง ha-ha จากอุทยานภูมิทัศน์ Stowe (Buckinghamshire, UK) กำแพงในระดับเดียวกับพื้นที่สวนทางด้านซ้ายของภาพ ทุ่งหญ้าทางด้านขวาอยู่นอกเขตแดนของอุทยาน. สัตว์จากทุ่งข้างนอกไม่อาจเข้าไปในบริเวณอุทยานได้ เพราะสูงกว่า และหากมีสัตว์เลี้ยงในบริเวณอุทยาน พวกมันก็ไม่อาจหนีออกไปในทุ่งหญ้านอกอุทยานได้.
กำแพง ha-ha ที่ Castle Howard (York, UK)
      สวนภูมิทัศน์สวนแรก ที่เป็นสวนที่สำคัญที่สุด คือสวน Stowe (Buckinghamshire, UK) ได้เอาแบบของ Kent ไปใช้. ในปี 1741 Lancelot Brown (1716-1783) ได้เข้าทำงานเป็นหัวหน้าคนสวนที่นั่นและรับหน้าที่บริหารสร้างสรรค์สวนตามแบบแปลนของ Kent. ในปี 1751 เมื่อ Brown ปฏิบัติหน้าที่จบลง เขาลาออกจากสวน Stowe. ประสบการณ์จากที่นั่นได้สอนเขา ได้ให้แง่คิด จนเขาพัฒนาอุดมการณ์เกี่ยวกับการออกแบบสวนของตัวเอง และในที่สุดกลายเป็นนักออกแบบสวนที่ดีเด่นที่สุดในอังกฤษ. เขารับออกแบบสวนหลายแห่ง(เกือบร้อยแห่ง)ตลอดชีวิตเขา. อุดมการณ์สร้างสรรค์ของ Brown แปลกแยกจากแนวการออกแบบของ William Kent. Brown มิได้ยึดหลักการออกแบบตามแนวสถาปัตยกรรมจากโลกโบราณ เขาเบนไปเน้นการเนรมิตความงามของทัศนียภาพชนบทของอังกฤษให้โดดเด่นสมบูรณ์ที่สุด.
     สวนภูมิทัศน์ในแบบ Brown (Brownian landscape) ประกอบด้วยต้นไม้จำนวนมาก สนามหญ้าผืนใหญ่ และมีผืนน้ำเป็นศูนย์รวมมุมมอง. ต้นไม้ต่างๆที่ Brown นำเข้าปลูกในสวนที่เขาออกแบบ เป็นต้นไม้ที่พบในสหราชอาณาจักร ยกเว้นต้นเดียวที่นำเข้าจากต่างประเทศ คือต้นสนซีดาร์จากประเทศเลบานอน. ซีดาร์เป็นดาราเอกของสวน เพราะความสูงตระหง่าน ความงาม การกระจายกิ่งก้านสาขา อีกทั้งเป็นต้นไม้ที่มีอายุเป็นพันปี. เขาลดการปลูกไม้พุ่มไม้ดอกลงไปมาก (ex.herbaceous) จนบางสวนเกือบไม่มีดอกไม้เลย แต่สร้างสนามหญ้าผืนใหญ่ๆ กว้างและไกล เปลี่ยนธรรมชาติดิบให้เป็นธรรมชาติในอุดมการณ์สวนสวรรค์ของเขา (Elysian field). วิธีการสร้างสวนและเลือกต้นไม้ของเขา ทำให้ผู้รักดอกไม้ไม่พอใจนัก. ยุคนั้นเป็นยุคที่มีการนำเข้าต้นไม้ มีไม้ดอกพันธุ์ใหม่ๆแปลกๆจากทวีปอเมริกาและทวีปเอเชีย. ข้อมูลของราชสมาคมพืชสวนแห่งประเทศอังกฤษ (The Royal Horticultural Society) ระบุว่า 99 % ของพันธุ์ไม้ที่มีในอังกฤษ เป็นพันธุ์ไม้ที่นำเข้าจากต่างแดนทั้งสิ้น.
    Humphry Repton(1752-1818) สถาปนิกสวนคนถัดมา ได้หวนมาตอบสนองความกระตือรือร้นของผู้นิยมพันธุ์ไม้ดอก ด้วยการออกแบบให้มีสวนดอกไม้ ใกล้อาคารที่พักอาศัย. เขาคิดว่า สวนควรประกอบด้วยสวนย่อยๆหลายแบบหลายลักษณะ ในขณะเดียวกันก็สร้างภาพรวมของสวนนั้นได้อย่างสมดุลและมีเอกภาพ. สวนที่ Woburn Abbey (Bedfordshire, UK) เป็นตัวอย่างสุดยอดที่รวมแนวคิดและแบบการสร้างสรรค์สวนของ Repton. ที่นั่น เขาเนรมิตสวนส่วนตัวเฉพาะครอบครัว  สวนดอกไม้ และสวนอเมริกัน (โปรดดูที่ American Garden).
     Repton ได้พิมพ์หนังสือ Sketches and Hints on Landscape Gardening (1795) จุดประเด็นตอบโต้(และโต้แย้ง)จากนักภูมิสถาปัตย์คนอื่นๆในยุคนั้น. Sir Uvedale Price (1747-1829) ตอบโต้ Repton ในหนังสือของเขาชื่อ The Landscape และ Richard Payne Knight (1750-1824) ก็โจมตีอุดมการณ์ของ Repton เช่นกันในหนังสือชื่อ Essay on the Picturesque. สถาปนิกสวนสองคนหลังนี้เป็นเพื่อนกันและไม่ชอบแนวการออกแบบสวนที่ยังคงยึดแบบแผน ความสม่ำเสมอและระเบียบ ทั้งสองชอบให้สวนดูเป็นธรรมชาติ ให้สวยน่าชมและหลากหลายตามความเป็นจริงในธรรมชาติ.
     จนถึงต้นศตวรรษที่ 19 สถาปนิกสวนในอังกฤษจึงแบ่งแยกออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มหนึ่งนิยมสวนภูมิทัศน์แบบคลาซสิกของอังกฤษ(ที่เหมือนแบบสวนฝรั่งเศส)  อีกกลุ่มหนึ่งต้องการสวนที่ดูเป็นธรรมชาติ ไม่มีกฎมีระเบียบบังคับจนดูแข็งทื่อ. ความขัดแย้งดังกล่าวมีส่วนช่วยการพัฒนารูปแบบสวนภูมิทัศน์ของอังกฤษต่อมาเรื่อยๆ. ในช่วงเวลานี้เองที่เกิดแบบสวนอีกแบบหนึ่งที่เรียกกันว่า Victorian English garden (สวนอังกฤษยุคพระราชินีวิคตอเรีย) ที่รวมสวนกุหลาบ สวนหิน สวนสมุนไพร และแปลงไม้ดอกต่างๆเข้าไปภายในสวนอุทยานขนาดใหญ่ (ดูที่ Victorian garden)
    เราอาจสรุปสั้นๆได้ว่า สวนอังกฤษ ในความหมายที่เข้าใจกันทั่วไปในปัจจุบัน หมายถึงสวนภูมิทัศน์ มีธรรมชาติหลายแบบที่จะเห็นเมื่อออกเดินไปตามทางสายเล็กสายน้อยในสวน จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง จากมุมมองหนึ่งไปยังอีกมุมมองหนึ่ง. คนเดินค้นพบทิวทัศน์และสิ่งดึงดูดสายตาแบบต่างๆ พร้อมๆกับความเบิกบานใจในการเดินผ่านภูมิประเทศลักษณะต่างๆ.

    เนื่องจากต้นสนซีดาร์จากเลบานอนเป็นดาราเอกของสวน จึงเพิ่มข้อมูลให้อีกนิดว่า ต้นสนนี้ (Cedar of Lebanon ชื่อวิทยาศาสตร์คือ Cedrus libani) มีเอ่ยอ้างถึงในคัมภีร์เก่าหลายตอนทีเดียว บทหนึ่งเจาะจงไว้เลยว่ายาเวพระเจ้าเป็นผู้ปลูกต้นซีดาร์ในดินแดนที่ต่อมาคือประเทศเลบานอน. ซีดาร์จึงเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ ความจีรังยั่งยืนและสันติภาพ. เป็นทรัพย์ในดินของเลบานอน เป็นสัญลักษณ์ของประเทศที่ประทับเด่นบนกลางธงชาติ. ต้นซีดาร์เป็นไม้ที่เขียวตลอดปี มีอายุยืนได้ถึงพันปีหรือมากกว่า (มีผู้ค้นพบต้นซีดาร์แดงในอเมริกาที่มีอายุสามพันห้าร้อยปี). เนื้อไม้ที่แข็งแรงทนทาน รูปลักษณ์ของต้นไม้ที่สูง แผ่กระจายออกไปกว้าง ทำให้ชาวยุโรปหลงใหลและไปขุด โค่น ขนย้ายกลับมาปลูกในยุโรป และหรือนำไม้ไปก่อสร้างเป็นจำนวนมาก ปลาใหญ่กินปลาเล็กฉันใด ป่าซีดาร์ในเลบานอนจึงถดถอยน้อยลงๆ ฯลฯ. ต้นสนซีดาร์ตามอุทยานขนาดใหญ่ๆ โดดเด่นเหนือพื้นที่สนามกว้าง งามมเหาฬารหาต้นไม้อื่นเทียบได้ยาก เป็นที่รักที่ถนอมของคนสวนและคนไปเที่ยวสวน (นี่อาจเป็นสิ่งปลอบใจชาวเลบานอนได้บ้าง).


ภาพทั้งสามจากปราสาทและอุทยานแถบลุ่มแม่น้ำลัวร์ชื่อ Chaumont-sur-Loire (Loir-et-Cher, France) ศูนย์รวมศิลปะและแบบสวนบนพื้นที่ 26.84 ตารางกิโลเมตร และเป็นที่จัดมหกรรมนานาชาติเกี่ยวกับสวน (Festival International des Jardins). มหกรรมสวนนี้จัดติดต่อกันมาตั้งแต่ปี 1992 ปกติอยู่ในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤศจิกายน. ปี 2018 นี้เป็นครั้งที่ 27 ตั้งแต่วันที่ 24 เมษายนถึงวันที่ 4 พฤศจิกายน. แต่ละปีเสนอการจัดสวนในหัวข้อพิเศษหัวข้อหนึ่ง เช่นปี 2018 นี้เป็นนิทรรศการ Jardin de la pensée หรือ“สวนแห่งความคิด” ที่แน่นอนอ้างอิงไปถึงวรรณกรรมของนักเขียนคนสำคัญๆของฝรั่งเศส รวมถึงตำนานอินเดียแดงและวรรณกรรมเปอเชียเรื่อง The Conference of the Birds หรือ“ปักษาสัมมนา” เป็นต้น.

Entrelacs [อ๊องเทรฺอ-ลัก] เป็นคำฝรั่งเศส. คำนี้หมายถึงเทคนิคการถักนิตติ้ง เป็นลายเหมือนสอดกัน ด้วยการถักพลิกด้านล่างขึ้นเป็นด้านบน สลับกันเป็นช่วงๆ ที่ทำให้ดูหนากว่าการถักไปเรื่อยๆด้านบนเดียวกันเป็นต้น. ในบริบทสวนหมายถึงลวดลายแบบหนึ่งที่อาจไปเป็น“ลายปัก”ปาร์แตร์บนพื้นสนามหญ้า ให้ลวดลายเชื่อมโยงหรือพันเกี่ยวกันไป ดูเหมือนลายสอดขึ้นลง เป็นลายนูนขึ้นจากลายบนพื้นสนามเป็นต้น ยิ่งสลับสีต่างกันก็จะยิ่งชัดเจน (ดูที่คำ Knot garden)
André Mollet เป็นนักออกแบบสวนชาวฝรั่งเศส ได้แต่งหนังสือชื่อ Théâtre des plans et jardinages (1652) ให้ข้อมูลการจัดสวน แบบแปลงดอกไม้ฯลฯ รวมถึงบุคคลที่มีอาชีพเกี่ยวกับการทำสวน. ภาพนี้แสดงลักษณะของ entrelacs ในแปลงปาร์แตร์. ภาพจากเว็ป pinterest.com มาจากหนังสือเล่มดังกล่าว (pl. 14, bibliothèque de l'INHA, 4 Res 1896) หนังสือเล่มนี้อยู่ที่ Institut national d’histoire de l’art (INHA) กรุงปารีส.
ภาพตัวอย่างจากสวน Queen’s Garden (สวนพระราชินี) ในพระราชอุทยาน Het Loo ที่ประเทศเนเธอแลนด์
พื้นสวนปักเป็นสัญลักษณ์ของราชตระกูลที่อุทยานปราสาท Frederiksborg Slot (Hillerød, Denmark).
การจัดแปลงดอกไม้ประดับสวนที่ปราสาท Schleissheim (ชานเมืองมิวนิก  Bavaria, Germany)
“สวนรัก” ที่อุทยานปราสาท Château de Villandry [ชาโต้ เดอ วิลล็องดริ](หนึ่งในปราสาทบนดินแดนแถบลุ่มแม่น้ำลัวร์ ประเทศฝรั่งเศส)

Espace vert  [เอ๊ซป๊าซ-แวร] เป็นคำฝรั่งเศส แปลตามตัวว่าพื้นที่เขียว” ศัพท์นี้เริ่มใช้แพร่หลายในศตวรรษที่ 20 โยงไปถึงการบริหารจัดการพื้นที่ภายในเมืองแต่ละเมือง เพราะตั้งแต่การปฏิวัติอุตสาหกรรมเป็นต้นมา เมืองได้กลายเป็นป่าคอนกรีตอย่างยากที่จะแก้ไขได้. การจัดให้มีพื้นที่เขียวด้วยการปลูกต้นไม้ สร้างสวนสาธารณะ ปลูกป่า ทำจัตุรัสกลางเมืองที่มีต้นไม้ดอกไม้ประดับเสมอ  จึงเป็นความพยายามลดลักษณะของป่าคอนกรีตลงไปบ้าง ให้พื้นที่เขียวทั้งหลายเป็น“ปอด”ฟอกอากาศและมลภาวะให้ลดน้อยลง เพื่อคุณภาพชีวิตของชาวเมือง.    
---------------------------------------
E-3 >> Espalier, Estrade, Étang, Étoile, Eurythmy, Evantail, Exedra, Exotic, Extensive gardening, Eyecatcher.
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/04/e-3-eyecatcher.html
เมนูหนังสือ ประมวลความรู้จากศัพท์อุทยานศิลป์
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/mygardenbook-menu.html

Comments