Mausoleum
[มอเซอลี้-เอิ่ม]
เป็นอาคารอนุสรณ์ขนาดใหญ่และหรูหราสำหรับกษัตริย์ผู้ล่วงลับไปแล้ว.
ในสมัยโบราณเป็นที่บรรจุอังคารด้วย แต่ในสมัยใหม่
เป็นเพียงอาคารประดับด้วยรูปปั้นหรือแท่นหินจารึกชื่อ คำพูด คำคมไว้เป็นอนุสรณ์. ต่อมา ขุนนางหรือคหบดีผู้ร่ำรวย ก็นิยมสร้างอนุสรณ์สถานแบบนี้ในบริเวณพื้นที่ของพวกเขา.
ในที่สุดจึงเป็นอาคารสถาปัตยกรรมประดับสวนแบบหนึ่งตามค่านิยมที่สืบทอดมา
เป็นสิ่งเตือนมรณานุสติด้วย.
อนุสรณ์สถานอีกแบบหนึ่งที่อุทยาน Dessau-Wörlitz (ที่ Oranienbaum-Wörlitz, Germany) สร้างให้เหมือนถ้ำในภูเขา ประตูทางเข้าตามศิลปะคลาซสิก. เมื่อเข้าไปข้างใน กลับสว่างด้วยแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านจากด้านบนของถ้ำนี้. แผ่นจารึกและภาพเหมือนของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว คนโททรงสูง ผอบหรือบรรจุภัณฑ์ที่เก็บอัฐิธาตุ(จริงหรือจำลองเป็นพิธี)ของผู้วายชนม์.
https://www.youtube.com/watch?v=7dPkw8gCD74
The Lurie Garden with Piet Oudolf -Directed by Tom
Rossiter (8:56 min) Feb 27,
2012.
จิตรกรรมน้อยที่ประดับหนังสือยุคกลาง ภาพการทำสวนภายในปราสาท การติดตามดูแลของเจ้านายอย่างใกล้ชิด. เจ้านายสตรีเดินไปดูการขุดดินปลูกต้นไม้ เธออุ้มสุนัขตัวโปรดในอ้อมแขน. ภาพศตวรรษที่ 15 จากเว็ปเพจ Pinterest.com
อุทยาน Luisenpark เมือง Mannheim จัดบริเวณเลี้ยงนกไว้อย่างดีเช่นกัน เป็นโชคดีของนกเหล่านั้น
สองภาพนี้จากอุทยานปราสาท Leeds Castle คูที่เคยล้อมปราสาท ถูกจัดใหม่ให้เป็นลำคลองล้อมปราสาท เสริมหน้าตาของปราสาท เงาที่สะท้อนในน้ำ ชวนฝัน นำผู้ชมทวนกระแสเวลากลับไปสู่ยุคขุนนางโบราณ สร้างจินตนาการเพ้อฝันไกลออกไปจากยุคปัจจุบัน. คูกลายเป็นเอกลักษณ์เด่นที่เชิญชวนนักท่องเที่ยว.
อาคารอนุสรณ์แห่งความทรงจำริมฝั่งทะเลสาบ Badenburg See อยู่ภายในบริเวณพระราชอุทยานปราสาท Schloss Nymphenburg (ชานเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี) สร้างขึ้นระหว่างปี 1862-1865 ตามแบบสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ. เป็นอาคารโปร่งโล่ง ตรงกลางมีเพียงหลักศิลาจารึกพระนามของพระเจ้า Frederick-William III กับพระราชินี Louise และจักรพรรดิ William I กับพระราชินี Augusta. อาคารนี้เป็นผลงานของ Heinrich Gentz.
เนินเขาที่ตั้งของอาคาร Monopteros (ที่นั่นชอบเรียกว่า Apollo tempel) ในสวนสาธารณะกลางเมืองขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกปัจจุบัน ชื่อ สวนอังกฤษ หรือ Englischer Garten กลางเมืองมิวนิค สร้างขึ้นในปี 1836 ผลงานของ Benjamin Thompson (1753-1814) เพื่อเป็นอนุสรณ์ความทรงจำ จารึกไว้ว่าแด่เจ้าชาย Karl Theodor ผู้ครองแคว้นบาวาเรีย (prince-elector and Duke of Bavaria, ระหว่างปี1742-1777). ชื่อสวนอังกฤษนั้น เพราะเป็นยุคที่แบบสวนอังกฤษที่เป็นสวนภูมิทัศน์กำลังโดดเด่นเป็นที่นิยมกันมาก.
สวนจันทร์เพ็ญปลูกต้นซากุระไว้เป็นจำนวนมาก ยังมีสระน้ำหินแกรนิต ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีวงกลมเหมือนวงล้อภายในที่โยงไปถึงดวงจันทร์ และแขนสี่แขนที่เชื่อมพื้นที่ แบ่งพื้นที่เป็นสี่ส่วนเท่าๆกันอย่างมั่นคง. ข้าพเจ้านึกถึงประตูยานอวกาศที่เปิดสู่ความลึกลับในจักรวาล. ภาพทั้งสองนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็ปที่ใช้ชื่อว่า HAVECAMERAWILLTRAVEL.COM (ชื่อเว็ปถูกใจเพราะตรงกับค่านิยมส่วนตัว และทำให้นึกถึงซีรีส์ทีวีอเมริกันยุค wild wild West ที่เคยดูสมัยเด็กเรื่อง Have gun will travel).
สี่ภาพนี้เป็นบริเวณสวนตุรกีที่มีสุเหร่าเป็นองค์ประกอบสวน (ที่คงหาที่ใดในยุโรปเสมอเหมือนไม่ได้ จะถูกรสนิยมใครหรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็น) สร้างขึ้นในระหว่างปี1779-1791 โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลียนแบบสถาปัตยกรรมตุรกี. ดั้งเดิมมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมศาสนา ให้เป็นเพียงอาคารประดับสวนแบบหนึ่ง (ปัจจุบันเปิดให้เช่ายืมสถานที่ในวาระพิเศษต่างๆเช่นพิธีมงคลสมรส). สวนตุรกีพร้อมสุเหร่านี้อยู่ภายในพระราชวัง Schloss Schwetzingen ประเทศเยอรมนี.
สำหรับพระเจ้า Ludwig II ผู้สามารถมองจากปราสาท Schloss Neuschwanstein เห็นปราสาท Schloss Hohenschwangau ที่พระองค์เกิดและเติบโตในวัยเด็ก.
เมื่อมองจากทะเลสาบ
Lake
Forggen จากฝั่งที่ตั้งของโรงละคร
Festspielehaus Neuschwanstein เมือง Füssen เห็นปราสาท Schloss Neuschwanstein โผล่ขึ้นจากกลางภูเขา. ทั้งหมดนี้สอดคล้องกับความช่างคิด
ช่างฝันและอารมณ์สุนทรีย์ที่ยากที่คนอื่นจะเข้าใจได้ของพระเจ้า Ludwig II แห่งบาวาเรีย.
ตัวอย่างสวนขั้นบันไดที่ขึ้นชื่อในอิตาลีคือ สวนบนเกาะ Isola Bella [อีซอละ เบลล่ะ] บนเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งในหมู่เกาะ Borremean ทะเลสาบใหญ่ Lago Maggiore ภาคเหนือของอิตาลี.
ภาพจากอุทยานปราสาท Castle
Howard (Yorkshire, UK) มีอาคารอนุสรณ์ตั้งเด่น สวยและภูมิฐาน. เป็นอาคารทรงกลมมีเสานางเรียงล้อมรอบหนึ่งแถว. ตรงกลางทึบปิด เป็นผลงานสร้างสรรค์ของ
Nicholas Hawksmoor เป็นสุสานจริงของตระกูล
Howard. บริเวณนี้ปิดสำหรับคนทั่วไป.
อนุสรณ์สถานอีกแบบหนึ่งที่อุทยาน Dessau-Wörlitz (ที่ Oranienbaum-Wörlitz, Germany) สร้างให้เหมือนถ้ำในภูเขา ประตูทางเข้าตามศิลปะคลาซสิก. เมื่อเข้าไปข้างใน กลับสว่างด้วยแสงธรรมชาติที่ส่องผ่านจากด้านบนของถ้ำนี้. แผ่นจารึกและภาพเหมือนของบุคคลที่เสียชีวิตไปแล้ว คนโททรงสูง ผอบหรือบรรจุภัณฑ์ที่เก็บอัฐิธาตุ(จริงหรือจำลองเป็นพิธี)ของผู้วายชนม์.
สุสานหิน(แบบ sarcophagus ตรงดอกจันสีขาว) และอีกแบบใต้ซุ้มเหมือนหอคอย (ตรงดอกจันสีแดง) นอกวัดนักบุญปีเตอร์
(Sankt-Petri-Kirche)
สร้างขึ้นระหว่างปี
1805-1809 ตามแบบสถาปัตยกรรมกอติค. วัดนี้เป็นส่วนหนึ่งของอุทยานใหญ่ Garden Kingdom of Dessau-Wörlitz เยอรมนี.
Meadow
เป็นทุ่งหญ้าอุดมสมบูรณ์สำหรับเลี้ยงสัตว์. ทุ่งหญ้าที่มีสัตว์เดินแทะเล็มหญ้า
กลายเป็นภาพลักษณ์หนึ่งของสวนแบบธรรมชาติในยุโรป สื่อความสุขความสงบในชนบท เป็นความคิดความฝันของผู้ที่ใช้ชีวิตในความจอแจหรือในความฉาบฉวยของชีวิตในกรุง และในที่สุดกลายเป็นภาพลักษณ์ของสวรรค์บนดิน ดังมีตัวอย่างมากมายในจิตรกรรมตะวันตก. สวรรค์บนดินของชาวตะวันตกคือการได้อยู่ในชนบท
ใกล้ชิดธรรมชาติ.
Piet
Oudolf นักออกแบบสวนชาวดัตช์คนสำคัญยุคปัจจุบัน
เสนอแนวการจัดสวนแนวใหม่ เขาใช้พืชพันธุ์หญ้าจำนวนมากในสวน มองดูเหมือนทุ่งหญ้าที่น่าทึ่งมาก. แปลงหญ้าแบบต่างๆที่เขาปลูกในสวน ยังสวยในทุกฤดูด้วย.
แนวการจัดสวนของเขาเป็นที่นิยมแพร่หลายมากในปัจจุบัน
ชมตัวอย่างจากสวนอื่นๆต่อไปนี้
ภาพจากสวน Luisenpark เมือง Mannheim เยอรมนี
ชมคลิปสวนที่ Piet Oudolf เป็นผู้สร้างขึ้นตามที่ต่างๆ จากลิงค์ต่อไปนี้
Oudolf Field perennial meadow
Bruton Somerset Aug 2015
(5:06
min).
https://www.youtube.com/watch?v=BFhO_3KYEAk
Piet Oudolf tuinen (9:23 min) October 26, 2017.
https://www.youtube.com/watch?v=BFhO_3KYEAk
Piet Oudolf tuinen (9:23 min) October 26, 2017.
https://www.youtube.com/watch?v=7dPkw8gCD74
The Lurie Garden with Piet Oudolf -Directed by Tom
Rossiter (8:56 min) Feb 27,
2012.
Medieval garden
สวนยุคกลาง. มีเอกสารลายลักษณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าคนในยุคกลางมีความสนใจในการทำสวนมาก มีทั้งสวนครัว สวนสมุนไพร สวนผลไม้ สวนพฤกษศาสตร์เป็นต้น ทั้งยังมีพื้นที่กว้างใหญ่เพื่อการเล่นและความรื่นเริง. สวนยุคกลางเป็นสวนที่มีกำแพงหรือรั้วปิดล้อม และมีแปลนสวนจัดตามแบบเรขาคณิต.
จิตรกรรมน้อยที่ประดับหนังสือยุคกลาง ภาพการทำสวนภายในปราสาท การติดตามดูแลของเจ้านายอย่างใกล้ชิด. เจ้านายสตรีเดินไปดูการขุดดินปลูกต้นไม้ เธออุ้มสุนัขตัวโปรดในอ้อมแขน. ภาพศตวรรษที่ 15 จากเว็ปเพจ Pinterest.com
Menagerie
เป็นสถานที่ ที่รวมสัตว์ประเภทต่างๆที่เลี้ยงไว้ดูเล่น แต่ไม่ใหญ่แบบสวนสัตว์ ไม่มีสัตว์หลายประเภทนักและไม่มีสัตว์ใหญ่“ดุร้าย”. ฝรั่งเศสใช้คำ ménagerie ก่อนใครอื่นในความหมายว่า การบริหารจัดการที่อยู่หรือฟาร์ม. ราวทศวรรษที่ 1670 คำนี้เริ่มใช้ในภาษาอังกฤษ แต่ตัดความหมายอื่นออกเหลือเพียงสถานที่รวมสัตว์ต่างๆเพื่อการแสดงเช่นในวงละครสัตว์. ในบริบทสวน กลายเป็นที่รวมของสัตว์ป่าหรือนกสวยๆที่หาดูยาก
นำมาเลี้ยงไว้เพื่อความเพลิดเพลินใจของผู้เป็นเจ้าของ.
บางแห่งไม่ปิดขังสัตว์ไว้ภายในกรงตลอดเวลา โดยเฉพาะพวกนกสวยๆเช่นนกยูง อาจปล่อยให้เดินเล่นไปมาอย่างอิสระภายในสวน. อาคารแบบนี้บางแห่ง
สร้างให้เป็นอาคารเลี้ยงรับรองแขกได้ด้วย. คำนี้จึงอาจหมายถึงที่รวมสัตว์สวยงามประเภทใดก็ได้. ในฝรั่งเศสปัจจุบันหมายถึงบริเวณที่ใช้เลี้ยงและฝึกม้า
เพื่อนำออกแสดงให้ประชาชนชม.
สวนพฤกษศาสตร์วิลลาต้ารันโตะ (Giardini Botanici Villa
Taranto) บนฝั่งตะวันตกของทะเลสาบใหญ่ (Lago Maggiore) ประเทศอิตาลี ที่นั่นจัดพื้นที่เลี้ยงนกสวยๆ
โดยที่นกเหล่านั้นเดินเล่นอิสระเสรีในพื้นที่นั้น
มีกรงสำหรับนกพันธุ์เล็กๆที่นำเข้าจากออสเตรเลีย. เขาตั้งชื่อบริเวณนกตรงนั้นว่าเป็นจัตุรัสนกแก้ว
(Piazzale dei
Pappagalli) ตอนที่ไปแถวนั้น
เดินเข้าในเมืองชายฝั่งแถวเดียวกัน เห็นภัตตาคารชื่อนกแก้ว (Pappagalli) เดินเข้าไปทานอาหารที่นั่น เชฟผู้เป็นเจ้าของร้านต้อนรับขับสู้
คุยกับคนต่างชาติอย่างดี อาหารถูกปากจนต้องกลับไปอีก. เชฟนกแก้ว พูดคุยต้อนรับคนต่างชาติอย่างคล่องตัว เมนูมีแปลสามสี่ภาษาให้ด้วย
ทำให้มีลูกค้าแน่นเต็มร้านเลย.
นกก็ไม่กลัวคน
เดินอาจๆเป็นเจ้าถิ่น
กรงสำหรับนกขนาดเล็กที่ Campo Grande
เมือง Valladolid สเปน
นกขนาดใหญ่อื่นๆที่บินสูงไม่ได้
จะให้เดินเล่นไปมาตามใจชอบในสวน
ที่นั่นเลี้ยงนกยูงไว้จำนวนมาก
และอยู่นอกกรง เดินไปมาในหมู่นักท่องเที่ยว
เขาจัดที่นั่งให้พักผ่อน นั่งชมนกยูงแถวนั้น
ได้จังหวะตัวนี้สำแดงปีกเป็นวงกลมอวดตัว
อุทยาน Luisenpark เมือง Mannheim จัดบริเวณเลี้ยงนกไว้อย่างดีเช่นกัน เป็นโชคดีของนกเหล่านั้น
นั่งเรือไปตามทะเลสาบเดียวกันนั้น
เห็นนกกระทุงตัวโตสีขาว
บรรดาเป็ดก็มาอยู่ในที่เดียวกันนั้นด้วย
มีพื้นที่มากไม่ต้องแย่งอาณาเขตกัน
ส่วนนกกระสาก็ขึ้นไปทำรังบนต้นไม้
มั่นคงไม่มีใครรบกวน
ทุกชีวิตอยู่อย่างมีคุณภาพตามธรรมชาติของมัน
บริเวณเลี้ยงนกกระทุง ภายในสวนสัตว์กรุงแบร์ลิน (Berlin Zoologischer garten). สวนสัตว์แบร์ลิน เป็นสถานที่พักผ่อนกลางเมือง
ยอดนิยมของชาวเมือง นักเรียนที่ไปกันเป็นทีมๆจากโรงเรียนประถมและมัธยม และเป็นสถานท่องเที่ยวของชาวเยอรมันกับชาวตะวันตกอื่นๆที่ไปเยือนกรุงแบร์ลิน
แต่นักท่องเที่ยวเอเชียไม่สนใจ.
Mesopotamia ชื่อนี้หมายความว่า“ดินแดนระหว่างแม่น้ำสองสาย” คือระหว่างแม่น้ำยูเฟรติซและแม่น้ำไทกริซ. รู้จักกันในนามว่า Fertile Crescent (ดินแดนนี้อยู่ในประเทศอิรักปัจจุบัน). เคยเป็นแหล่งกำเนิดอารยธรรมโบราณสำคัญๆ สามอารยธรรมของโลก คืออารยธรรมซูเมเรีย
อารยธรรมบาบีโลเนียและอารยธรรมอัสซีเรีย.
Mirador
เป็นคำสเปนมาจากคำกริยา mirar ที่แปลว่า มองหรือดู. อาคาร“มิราดอร”
มีความหมายเดียวกับคำ
belvedere นั่นคือเป็นอาคารชมวิวเพราะทำเลที่ตั้งดี คนมองกวาดสายตามองทิวทัศน์ไปได้รอบด้าน บางแห่งอาจมองออกไปไกลถึงเส้นขอบฟ้า.
ตึกระฟ้าที่สร้างขึ้น
อาจรวมประเด็นนี้เข้าไปด้วย แต่ทิวทัศน์กลางเมืองนั้นหรือจะเทียบพาโนรามาของมวลเมฆ…
Mixed border or bed หมายถึงพื้นที่ตรงขอบแปลงดินแปลงหนึ่ง ด้านหนุ่งติดรั้วหรือกำแพง มักใช้ปลูกพืชหลายพันธุ์ เช่นไม้ผลปลูกติดกำแพงเลย ดัดและจัดให้กิ่งก้านสาขา แผ่ไปบนกำแพงหรือรั้ว.
หากทำทางเดินขนานไปกับผืนดินตรงนั้น ก็เกิดเป็นแปลงดินเล็กแต่ยาวไปตามความยาวของพื้นที่.
แปลงดินยาวแบบนี้เรียกเป็น border (ขอบ)
อาจใช้ท่อนไม้เล็กๆยาวๆต่อๆกันกั้นเป็นขอบ.
เคยเห็นบางแห่งที่เจ้าของใช้ขวดไวน์ขวดเปล่าๆ(ขวดเบียร์หรือกระป๋องน้ำดื่มฯลฯ)
ปักหัวทิ่มลงในดิน ให้ได้ระดับเสมอกันทั้งแถว กั้นพื้นที่ไปตลอดความยาว. บางทีอาจใช้ลำต้นไผ่มาคั่น(ดังที่เห็นกันทั่วไปในสวนญี่ปุ่น). บางทีใช้ก้อนหินมาเรียงต่อๆกันไป. ภายในแปลงขอบที่ดินแบบนี้
นิยมลงไม้ดอกพันธุ์ต่างๆ.
บางแห่งเลือกพันธุ์ไม้ดอกที่มีสีอ่อนสีเข้มไล่ๆกันจากขอบเข้าไปถึงกำแพง
ให้เป็นขอบสวนโทนสีเดียวกัน หรือโทนสีต่างกันแล้วแต่รสนิยม. บางทีเลือกพันธุ์ไม้ดอกที่บานต่างเวลากันเพื่อให้มีดอกไม้พันธุ์ใดพันธุ์หนึ่งบานตลอดช่วงฤดูร้อนจนถึงฤดูใบไม้ร่วง เมื่อพันธุ์หนึ่งเริ่มเหี่ยวเฉาและร่วงโรย อีกพันธุ์หนึ่งเริ่มแย้มบาน.
นอกจากนี้ยังอาจปลูกไม้พุ่มปนกับไม้ดอก. การปลูกไม้ดอกต่างพันธุ์และต่างสีสันลงในแปลงเดียวกันเริ่มขึ้นในกึ่งศตวรรษที่19 ซึ่งขัดกับกระแสนิยมในตอนนั้น แต่คนนิยมกันมาก จึงยังทำกันเรื่อยมาจนกลายเป็นเรื่องธรรมดาไป. ในอังกฤษนิยมปลูกดอกไม้ต่างพันธุ์ต่างสีลงบนแปลงดินที่ติดรั้วหรือกำแพงสวน
(ดูที่คำ border ในบล็อกนี้)
แปลงดอกไม้แบบผสม จากสวนพฤกษศาสตร์ Kew
Gardens ในอังกฤษ. แม้ปลูกพรรณไม้คละกัน เขาคำนึงถึงสีของดอกไม้ที่นำมาปลูกด้วยกัน
ให้อยู่ในกลุ่มสีเดียวกัน. ส่วนรูปลักษณ์ของต้นไม้หรือขนาดและความเร็วของการเจริญเติบโตไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน. หากรู้จักจัดให้ลดหลั่นกัน ก็สวยได้เช่นกัน.
แปลงดอกไม้ติดทางเดินในสวนบริเวณท่าเรือ
Friedrichshafen บนฝั่งเหนือของทะเลสาบ Bodensee (หรือ Lake Constance) ภาคใต้ของเยอรมนีติดพรมแดนสวิสเซอแลนด์. เขาปลูกคละกันทั้งไม้ดอกคลุมดิน ไม้พุ่มและต้นไม้ มีแผ่นหินตั้งอนุสรณ์เป็นเกียรติแก่ Bruno Diamant
(1867-1942) ประติมากรชาวเมืองนี้ เห็นใบหน้าด้านข้างของเขาจำหลักไว้.
ทางเดินหว่างกลางต้นลาเวนเดอร์
ที่ Greys
Court (York, England)
การจัดแปลงกุหลาบในสวนกุหลาบที่พระราชอุทยาน
Hampton Court (ชานเมืองลอนดอน)
มุมนั่งพักติดแปลงดอกไม้แบบผสมที่ปลูกติดขอบกำแพงสวน
Moat
คู. ในสมัยก่อน อาจเป็นคูธรรมชาติ หรือคูที่เจาะจงขุดขึ้นล้อมรอบปราสาท เพื่อป้องกันหรือชะลอการบุกรุกของข้าศึก. ต่อมาในยุค Jacobean (ยุคของพระเจ้า James I, 1603-1625) มีการขุดคูล้อมรอบนิวาสถานของขุนนางในชนบท ให้เป็นสิ่งเสริมความสำคัญของที่ดินนั้น.
สองภาพนี้จากอุทยานปราสาท Leeds Castle คูที่เคยล้อมปราสาท ถูกจัดใหม่ให้เป็นลำคลองล้อมปราสาท เสริมหน้าตาของปราสาท เงาที่สะท้อนในน้ำ ชวนฝัน นำผู้ชมทวนกระแสเวลากลับไปสู่ยุคขุนนางโบราณ สร้างจินตนาการเพ้อฝันไกลออกไปจากยุคปัจจุบัน. คูกลายเป็นเอกลักษณ์เด่นที่เชิญชวนนักท่องเที่ยว.
Monastery garden
สวนในอาราม. ในสมัยกลางเหล่าพระนักบวชออกไปอยู่ป่าห่างไกลจากชุมชนเพื่อปฏิบัติธรรมและใช้ชีวิตอย่างสมถะ.
เหล่านักบวชได้ถางป่าปลูกข้าวสาลี ผลไม้ ปลูกไร่องุ่นและทำสวนครัวเพื่อบริโภคภายในอารามนักบวช และเลี้ยงดูผู้เดินทางที่ผ่านเข้าไปขอพึ่งวัด. อารามนักบวชและสำนักชีจึงมีสวนครัวใกล้ๆเสมอ. นอกจากสวนครัวสวนสมุนไพร นักบวชยังศึกษาพัฒนาพันธุ์พืชด้วยและในที่สุดอารามกลายเป็นแหล่งรวมความรู้ด้านการเกษตรที่สำคัญยิ่งในยุคกลาง. พื้นที่อารามมักขยายออกไปกว้างมากขึ้นๆ
เพราะชาวนาชาวไร่บางคนไม่มีปัญญาทำไร่ทำนา หากขาดกำลังคน
มักมอบที่ดินของพวกเขาให้วัดและย้ายเข้าไปอยู่ในวัดหรืออารามนักบวช
ทำหน้าที่เพาะปลูกต่อไปให้วัดโดยที่ตัวเองมีที่อยู่ที่กินไม่อดอยากขาดแคลน. เช่นนี้ทำให้วัดและอารามนักบวชเป็นแหล่งอาหารแหล่งสำคัญของท้องที่. การผลิตเพิ่มขึ้นๆ ส่วนที่เหลือจากการบริโภคภายในอาราม ก็ขายให้เจ้านายหรือคหบดี
เช่นเมล็ดข้าวสาลี ผัก
ผลไม้ ทำรายได้แก่อารามมากขึ้นๆตามลำดับ จนเบนความสนใจของเหล่านักบวชบางกลุ่มจากวิถีการครองตนเยี่ยงนักบวชไปสู่การกินอยู่ที่ฟุ่มเฟือย
ไม่ต้องลงแรงทำงานไร่งานสวนอีกแล้ว ส่งผลให้ศาสนาเสื่อมลง. ในประวัติคริสต์ศาสนามีการปฏิรูปคติการครองตนของเหล่านักบวชหลายครั้งหลายครา. คติการครองตนของนักบวชส่วนใหญ่
ปลูกฝังการอยู่อย่างยากไร้ กินดื่มพอเพียงเท่าที่จำเป็น ให้สวดมนต์ภาวนา ศึกษาและคัดลอกพระธรรมคำสอนเป็นต้น. (ไม่ว่าในศาสนาใด นักบวชต้องเพียรตัดกิเลสตัณหาลงให้ได้
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายๆ การที่ศาสนาเสื่อมลง มีส่วนมาจากการกินดีอยู่ดีเกินไป)
Monopteros (คำในภาษากรีกโบราณที่มาเป็นคำละติน) เป็นอาคารทรงกลมแบบคลาซสิก
มีเสาคอลัมน์เรียงเป็นวงกลม รองรับหลังคาทรงกลม เปิดโล่งทั้งหลัง.
อาคารอนุสรณ์แห่งความทรงจำริมฝั่งทะเลสาบ Badenburg See อยู่ภายในบริเวณพระราชอุทยานปราสาท Schloss Nymphenburg (ชานเมืองมิวนิค ประเทศเยอรมนี) สร้างขึ้นระหว่างปี 1862-1865 ตามแบบสถาปัตยกรรมกรีกโบราณ. เป็นอาคารโปร่งโล่ง ตรงกลางมีเพียงหลักศิลาจารึกพระนามของพระเจ้า Frederick-William III กับพระราชินี Louise และจักรพรรดิ William I กับพระราชินี Augusta. อาคารนี้เป็นผลงานของ Heinrich Gentz.
เนินเขาที่ตั้งของอาคาร Monopteros (ที่นั่นชอบเรียกว่า Apollo tempel) ในสวนสาธารณะกลางเมืองขนาดใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งในโลกปัจจุบัน ชื่อ สวนอังกฤษ หรือ Englischer Garten กลางเมืองมิวนิค สร้างขึ้นในปี 1836 ผลงานของ Benjamin Thompson (1753-1814) เพื่อเป็นอนุสรณ์ความทรงจำ จารึกไว้ว่าแด่เจ้าชาย Karl Theodor ผู้ครองแคว้นบาวาเรีย (prince-elector and Duke of Bavaria, ระหว่างปี1742-1777). ชื่อสวนอังกฤษนั้น เพราะเป็นยุคที่แบบสวนอังกฤษที่เป็นสวนภูมิทัศน์กำลังโดดเด่นเป็นที่นิยมกันมาก.
Moon gate เป็นประตูทรงกลมเหมือนดวงจันทร์เต็มดวง
ตามค่านิยมจีนที่สร้างประดับสวน. คงเป็นเพราะคืนจันทร์เพ็ญหนุ่มสาวชอบออกไปนั่งรับลมเย็นและชมความงามของสวนยามราตรี. เป็นที่รู้กันว่าชาวจีนมีขนบธรรมเนียมเกี่ยวกับดวงจันทร์มาแต่โบราณและยังคงสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน. ขนบธรรมเนียมจีนหลายอย่าง เป็นขนบประเพณีร่วมกันในหมู่ชาวเอเชียด้วยกัน
และโดยเฉพาะในประเทศไทย.
ประตูจันทร์เพ็ญที่มีชื่อเสียงมากที่เป็นมากกว่าประตูแต่เป็นสวนทั้งสวนด้วยคือ
Moongate garden อยู่ด้านหลังทางเข้าหอศิลป์ Sackler
Gallery. เป็นหนึ่งในสวน Smithsonian gardens ที่อยู่ล้อมรอบอาคารพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ที่มีจำนวนทั้งสิ้น19 แห่งหรือสถาบัน. การเนรมิตสวนรอบๆแต่ละแห่ง บ่งบอกความสำคัญของพื้นที่เขียว
พื้นที่สาธารณะเพื่อประชาชน ที่เมืองหลวงของสหรัฐฯต้องการมอบให้แก่ประชาชน
ควบคู่ไปกับการบริการด้านความรู้และศิลปวัฒนธรรมจากทั่วโลก. เช่นนี้ ทำให้กลางกรุงวอชิงตันดีซีเป็นเหมือนสวนสวรรค์ในเกือบทุกฤดูกาล.
สวนจันทร์เพ็ญปลูกต้นซากุระไว้เป็นจำนวนมาก ยังมีสระน้ำหินแกรนิต ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส มีวงกลมเหมือนวงล้อภายในที่โยงไปถึงดวงจันทร์ และแขนสี่แขนที่เชื่อมพื้นที่ แบ่งพื้นที่เป็นสี่ส่วนเท่าๆกันอย่างมั่นคง. ข้าพเจ้านึกถึงประตูยานอวกาศที่เปิดสู่ความลึกลับในจักรวาล. ภาพทั้งสองนี้เป็นลิขสิทธิ์ของเว็ปที่ใช้ชื่อว่า HAVECAMERAWILLTRAVEL.COM (ชื่อเว็ปถูกใจเพราะตรงกับค่านิยมส่วนตัว และทำให้นึกถึงซีรีส์ทีวีอเมริกันยุค wild wild West ที่เคยดูสมัยเด็กเรื่อง Have gun will travel).
Moorish
ชาวอาหรับมอริช(หรือมัวร์) สืบเชื้อสายจากชนชาวอาหรับผสมกับชนชาว
Berber [เบ๊อเบอะ]. ใช้เรียกชนกลุ่มที่อาศัยอยู่ในแอฟริกาตะวันตกเฉียงเหนือและในตอนใต้ของสเปน. ได้เข้าตั้งถิ่นฐาน ขับไล่หรือเปลี่ยนศาสนาของชาวพื้นเมืองเดิมบนคาบสมุทรไอบีเรียตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 และสร้างบ้านเรือน ปกครองประเทศได้รุ่งเรืองอยู่ที่นั่นจนถึงศตวรรษที่15. กษัตริย์ฝ่ายคริสต์ทางตอนเหนือของประเทศสเปนรวมกำลังกัน
ฮึดสู้จนในที่สุดสามารถช่วงชิงดินแดนคืนจากพวกอาหรับมัวร์.
ชาวอาหรับถูกขับไล่ให้ออกไปจากดินแดนหากไม่ยอมเปลี่ยนมานับถือศาสนาคริสต์. ผลจากการไปตั้งบ้านเรือนที่นั่นตลอด7-8 ศตวรรษ ทำให้อารยธรรมอาหรับแทรกซึมและวางรากฐานอย่างมั่นคงบนคาบสมุทรไอบีเรีย. อิทธิพลอารยธรรมอาหรับเห็นได้ชัดเจนมากโดยเฉพาะในประเทศสเปน
ที่มิได้ทำลายอารยธรรมอาหรับแต่ยอมรับและอนุรักษ์แบบอย่างดีๆของอาหรับไว้ ให้เป็นมรดกประวัติศาสตร์และมรดกวัฒนธรรม โดยเฉพาะในด้านศิลปะและสถาปัตยกรรม.
ชาวยุโรปมิอาจปฏิเสธความยิ่งใหญ่ด้านต่างๆของอารยธรรมอาหรับ ที่มีส่วนอย่างยิ่งในวิวัฒนาการศิลปวิทยาด้านต่างๆของยุโรป. ดังนั้น
การสร้างอาคารแบบอาหรับประดับสวนในยุโรปก็เป็นวิธีหนึ่งที่แสดงความรู้ความเข้าใจคุณค่าเกี่ยวกับอารยธรรมอาหรับ. นอกจากสเปนหรือปอรตุกัล
ประเทศอื่นๆเช่นเยอรมนี ออสเตรีย สวีเดน สร้างอาคารแบบอาหรับ
ประดับตกแต่งแบบอาหรับ ภายในอุทยานยุโรปด้วย เปิดใจกว้างรับสิ่งดีๆของเขาไว้. (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่คำ
kiosk ในบล็อกนี้)
สี่ภาพนี้เป็นบริเวณสวนตุรกีที่มีสุเหร่าเป็นองค์ประกอบสวน (ที่คงหาที่ใดในยุโรปเสมอเหมือนไม่ได้ จะถูกรสนิยมใครหรือไม่นั้น ไม่ใช่ประเด็น) สร้างขึ้นในระหว่างปี1779-1791 โดยสถาปนิกชาวฝรั่งเศส เลียนแบบสถาปัตยกรรมตุรกี. ดั้งเดิมมิได้สร้างขึ้นเพื่อใช้ในพิธีกรรมศาสนา ให้เป็นเพียงอาคารประดับสวนแบบหนึ่ง (ปัจจุบันเปิดให้เช่ายืมสถานที่ในวาระพิเศษต่างๆเช่นพิธีมงคลสมรส). สวนตุรกีพร้อมสุเหร่านี้อยู่ภายในพระราชวัง Schloss Schwetzingen ประเทศเยอรมนี.
ในบริบทสวน
คำคุณศัพท์มอริช ใช้อธิบายองค์ประกอบของสวนสเปนที่มีลานสวนภายในเรียกว่า patio [ปะตี๊โย] (หมายถึงสวนภายในบริเวณนิวาสถาน อยู่ระหว่างอาคารสองหรือสามหลังเป็นต้น ตรงกับความหมายหนึ่งของคำ courtyard). สวนสเปนมีองค์ประกอบชัดเจน เป็นสวนที่มีระเบียบ
แบบแปลนสวนเป็นแบบเรขาคณิต สัดส่วนสมดุลทุกด้านทุกมุมมอง. ในลานสวน
patio มีม้านั่งยาว วางตามมุมต่างๆ มีกำแพงปิดล้อม.
ต้นไม้ที่ปลูกเป็นพวกใบเขียวตลอดปี แต่ก็มีไม้ดอกที่ปลูกลงในกระถางขนาดต่างๆและนำออกตั้งไปรอบๆลานสวน. สวนขนาดใหญ่เหมือนคฤหาสน์หลังใหญ่ แบ่งย่อยเป็นสัดส่วนเล็กๆลงไป
เหมือนการจัดพื้นที่บ้านเป็นห้องๆ. น้ำเป็นปัจจัยสำคัญยิ่งในสวนอาหรับ มีสระและน้ำพุประดับเสมอ
อาจสร้างต่อเนื่องกันไปในทุกห้องสวน หรือแยกปัจจัยน้ำเป็นส่วนสัดเฉพาะห้อง
เพื่อสร้างรูปลักษณ์ของน้ำในแบบอื่นๆต่างออกไป. แปลนสวนที่ Generalife [เฆเนรัลลิเฟ่] ในเมือง Granada [กราน้าดะ] เป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมสวนแบบมอริชที่งามที่สุด แม้จะมีการจัดปรับเปลี่ยนการปลูกสวนที่นั่น เรื่อยมาตลอดหลายศตวรรษ แต่ทางการสเปนยังคงรักษาเอกลักษณ์ของสวนอาหรับไว้ได้ครบ
และกลายเป็นตัวอย่างสุดยอดของสวนสเปน-อาหรับในยุโรป. ชมสวนอาหรับ(สวนอิสลาม) ได้ตามลิงค์นี้.
Mosaïculture
หมายถึงการจัดปลูกดอกไม้เป็นแปลงๆในลักษณะเดียวกับการเนรมิตจิตรกรรมโมเสก. คำนี้เป็นคำฝรั่งเศสที่ใช้เรียกแนวการออกแบบลวดลายของแปลงดอกไม้และการทำพรมดอกไม้ในสวนยุควิคตอเรียของอังกฤษ ตั้งแต่ทศวรรษที่ 1860 เป็นต้นมา. ทั้งฝรั่งเศสและอิตาลี
ผนวกนัยความหมายลึกซึ้งเข้าไปในการสร้างสรรค์แปลงดอกไม้ เช่นโยงถึงข้อความหรือฉากเหตุการณ์ในคัมภีร์. ในยุคใหม่การทำแปลงดอกไม้
อาจเลือกภาพสัตว์หรือนกที่โยงไปถึงตราประจำตระกูล(หรือไม่ก็ได้). กรอบหรือขอบแปลงดินนั้น
ก็ยังอาจปลูกต้นไม้เรียงให้เป็นรูปลักษณ์ของแจกันหรือคนโทขนาดใหญ่
หรือเป็นภาพลักษณ์อื่นๆ.
ตัวอย่างของ mosaïculture
ที่อุทยาน Wisley
(Surrey
ตอนใต้ของกรุงลอนดอน) ลายในแปลงดอกไม้ที่เห็น
เป็นลายนกยูง มีขอบแปลงเหมือนกรอบภาพ ยกระดับภาพขึ้นสูงกว่าระดับพื้นสวน. เป็นจิตรกรรมโมเสกทำด้วยพืชพรรณ. ไม้ดอกทั้งหมดอยู่ติดพื้นในระดับเดียวกัน
อาจเทียบกับการปักไขว้ (cross stich) ส่วนการจัดแปลงปาร์แตร์เป็นการปักนูน.
จิตรกรรมโมเสกที่ละเอียดประณีต
ถ่ายมาจากพิพิธภัณฑ์ในวาติกัน นำมาเทียบให้เห็นว่า
การจัดแปลงดอกไม้ให้เหมือนจิตรกรรมโมเสกไม่ง่ายเลย จึงไม่เคยเห็นบ่อยนัก แต่น่าจะทำได้ หากรักที่จะทำ. สาเหตุสำคัญที่ทำให้การทำแปลงดอกไม้ ให้เหมือนภาพโมเสก
ไม่แพร่หลายนัก เพราะใช้เวลาทำนานมากและดอกไม้เหี่ยวเร็ว
อาจต้องใช้พืชต้นเล็กๆพันธุ์อวบน้ำเป็นต้น.
อีกภาพหนึ่ง จิตรกรรมโมเสกเช่นกัน พานผลไม้แบบต่างๆ ที่น่าสนใจคือการเจาะจงลมสี่ทิศ ในรูปของหัวคนเป่าลมออกจากปาก ความละเอียดของการประกอบภาพโมเสก ทำให้ดูเหมือนลายปักเอาใส่กรอบติดประดับผนังห้อง จากพิพิธภัณฑ์ในวาติกัน.
Mossery
เป็นที่เลี้ยงพืชพันธุ์หญ้ามอส. เป็นอาคารเรือนกระจกเพื่อปกป้องพันธุ์หญ้ามอสจากการเปลี่ยนแปลงของอากาศ. ในฤดูร้อนจึงเปิดกระจก ให้รับอากาศธรรมชาติ.
อาคารมอสมักเป็นส่วนหนึ่งของสวนพฤกษศาสตร์ เป็นแหล่งศึกษา รวมข้อมูลเกี่ยวกับหญ้ามอส.
เป็นอาคารยอดนิยมอาคารหนึ่งสำหรับผู้รักและอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับต้นไม้จิ๋วๆที่มีบนโลกเรา. ไม่เคยเห็นอาคารมอสกับตาตัวเองที่ใดในสวนใด จึงไม่มีภาพประกอบ.
Moss hut
หรือ Moss house กระท่อมหญ้ามอส พบมากในอังกฤษ นิยมทำกันในยุควิคตอเรีย. เป็นอาคารสร้างด้วยกิ่งไม้
โดยเฉพาะเป็นการรวมกิ่งต้นลอเร็ลและต้นสนเข้าด้วยกัน แบบเรียบง่าย อัดหญ้ามอสเข้าในแผ่นผนังกระท่อม.
หญ้าที่ใช้อาจเป็นมอสต่างชนิดต่างพันธุ์กันก็ได้ กลายเป็นอาคารรวมหญ้ามอสไปด้วย. ตามช่องโหว่บนผนังห้องระหว่างกิ่งไม้ อาจใช้กิ่งต้นฮีธ (heath) เข้าอุด. ทั้งยังอาจใช้กิ่งฮีธปูซ้อนเกยกันบนผนังกำแพงด้านนอกของกระท่อม. หากทำตามนี้
ก็เรียกใหม่ว่า บ้านฮีธ (a heath house). บางคนกลับนิยมประดับหรือปูทับผนังอาคารด้วยเปลือกต้นไม้ กรณีนี้จะเรียกบ้านนั้นว่า บ้านเปลือกไม้ (a bark house). ยังไม่เคยเห็นอะไรใกล้เคียงกับคำอธิบายข้างต้นที่เรียนรู้จากหนังสือ
จึงไม่มีภาพ.
Mount ภูเขาหรือเนินเขา
เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของสวนในอังกฤษยุคกลาง
มักเป็นเนินดินเตี้ยๆ มีบ้านพักร้อนเหนือเนิน ใช้เป็นที่นั่งพักชมวิว. บางแห่งทำทางเดินวนขึ้นไปถึงยอดเนิน ที่มีม้านั่งตั้งเด่นอยู่
หรืออาจเป็นศาลานั่งพักหลังเล็กๆ. เห็นการจัดสวนแบบนี้มากที่สุดในสวนญี่ปุ่นในญี่ปุ่น
ที่เขาจัดกระท่อมชาแบบเรียบง่ายที่สุด ไว้บนยอดเนินเขา ให้เจ้านายได้เดินขึ้นไปพัก
ปลีกวิเวก ดื่มน้ำชา ชมทิวทัศน์หรืออาจแต่งกลอน. ในบริบทสวนยุโรป คืออาคาร Belvedere ที่ตั้งบนเนินสูง ในพื้นที่ของปราสาทบางแห่ง.
ส่วนพระราชวังหรือปราสาท
ตลอดจนวิลลาที่ตั้งบนเนินสูง ก็มีมาก เนินนั้นไม่ใช่เป็นองค์ประกอบสวน แต่เป็นจุดศูนย์กลางของพื้นที่. การเลือกตั้งปราสาทหรือพระราชวังบนยอดเนินเขานั้น
ในสมัยก่อนเป็นประเด็นยุทธศาสตร์.
ต่อมาจึงมีประเด็นความเป็นส่วนตัว
ความฝันของผู้ให้สร้าง เช่นกรณีของพระเจ้า Maximilian II (1527-1576) ผู้ทรงให้สร้างปราสาท Schloss
Hohenschwangau และพระเจ้า Ludwig II (1845-1886) ผู้ทรงให้สร้างปราสาท Schloss
Neuschwanstein. ทั้งสองพระราชวังอยู่ในแคว้น
Schwangau ภาคใต้ของเยอรมนี.
พระราชวัง Neuschwanstein. ที่ได้เป็นแบบอย่างโลโกให้บริษัทบันเทิงธุรกิจ Walt Disney. เน้นนัยของจินตนาการและความฝัน.
สำหรับพระเจ้า Ludwig II ผู้สามารถมองจากปราสาท Schloss Neuschwanstein เห็นปราสาท Schloss Hohenschwangau ที่พระองค์เกิดและเติบโตในวัยเด็ก.
ติดตามความฝันของพระองค์ไปดูปราสาท
เข้าไปชมระบบการจัดเวทีหมุนเข้าออกหรือขึ้นลงที่ทันสมัยมาก
มีความพร้อมในการสร้างฉากทะเลหรือแม่น้ำด้วยมวลน้ำจริงที่มีระบบยกแท้งค์น้ำขึ้นมาจากฐานของโรงละครถึงระดับเวที. เป็นที่รู้กันว่า ปัจจัยน้ำเป็นองค์ประกอบสำคัญในอุปรากรหลายเรื่องของ
Wagner
นักดนตรีคนโปรดของพระเจ้า
Ludwig
II.
นับเป็นโรงละครไฮเทคชั้นยอดอันดับสองของเยอรมนี. แล้วเข้าชมอุปรากรที่เล่าชีวิตของพระองค์…
สะเทือนใจเมื่อนึกถึง
เหมือนศิลปินหรืออัจฉริยบุคคลหลายคนในโลก ที่อยู่นอกกรอบ ที่คนไม่เข้าใจ…
ในยุโรป สวนอิตาเลียนจำนวนมากตั้งบนเนินเขา การจัดสวนบนพื้นที่ต่างระดับกัน
(terrace garden)
ไม่ต้องเนรมิตเนินเขาเพื่อชมทิวทัศน์ สวนแต่ละระดับเป็นจุดชมวิวทั้งหมด.
จากระเบียงชั้นบนของวิลลาเด้สเตะ (Tivoli, Italy) สายตามองโอบล้อมทั้งเมือง Tivoli ที่ทอดอยู่เบื้องล่าง. เจ้าของปราสาทมีที่พักบนชั้นบน
เพียงเดินออกมาที่ระเบียงก็เห็นทั้งสวนทั้งเมือง. เหมือนโลกอยู่ในมือและทุกอย่างอยู่ในสายตา.
ตัวอย่างสวนขั้นบันไดที่ขึ้นชื่อในอิตาลีคือ สวนบนเกาะ Isola Bella [อีซอละ เบลล่ะ] บนเกาะเล็กๆเกาะหนึ่งในหมู่เกาะ Borremean ทะเลสาบใหญ่ Lago Maggiore ภาคเหนือของอิตาลี.
ภาพจาก Villa Carlotta ถ่ายจากระเบียงชั้นบน
มองลงสู่ทะเลสาบ Lago Como (Italy)
Villa Monastero วิลลาอีกแห่งบนฝั่งทะเลสาบ Lago Como ในอิตาลี
เป็นโอกาสให้สร้างสวนแต่ละแบบในแต่ละระดับ.
Museum
ตามรากศัพท์หมายถึงที่อยู่ของเหล่า muses [มิ้วซ]
หรือเทพธิดาผู้เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดศิลปะแขนงต่างๆ. คำนี้ใช้ในความหมายสามัญว่า
“พิพิธภัณฑ์” ที่รวมและที่ตั้งแสดงสิ่งมีค่า
ที่มีความหมายในประวัติศาสตร์สังคม. โดยปริยายผลงานสวยงามที่รวมอยู่ในพิพิธภัณฑ์
เป็นงานเนรมิตจากแรงดลใจของเหล่าเทพธิดาดังกล่าว. สมัยก่อน ชาวอังกฤษเนรมิตร“มิวเซียม”ในบริเวณสวนด้วย
แต่เหมือนอาคารเอนกประสงค์ เป็นเรือนพักร้อน หรือเป็นที่เล่นบิลเลียดเป็นต้น. สมัยนี้ เขาอาจจัดอาคารหนึ่งในพื้นที่ ให้เป็นที่แสดงนิทรรศการเกี่ยวกับสวนนั้น
ประวัติความเป็นมาของสวน หรือแบบแปลนการจัดปลูกต้นไม้
รวมทั้งภาพวาดเกี่ยวกับต้นไม้ใบไม้หรือดอกไม้. ปัจจุบัน ใช้เป็นที่ขายของที่ระลึกจากสวนหรืออุทยานนั้น
บางทีก็มีมุมบริการผลิตภัณฑ์จากสวนนั้นหรือจากกลุ่มแม่บ้านในชุมชนนั้นเป็นต้น.
-----------------------------------
Letter
N >> Naiad, Natural gardening, Neoclassical
(neoclassicism), Neoplatonism, Niche, Nursery, Nymph, Nymphaeum.
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/n-niche.html
เมนูหนังสือ ประมวลความรู้จากศัพท์อุทยานศิลป์
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/mygardenbook-menu.html
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/n-niche.html
เมนูหนังสือ ประมวลความรู้จากศัพท์อุทยานศิลป์
https://chotirosgardenterms.blogspot.com/2018/06/mygardenbook-menu.html
Comments
Post a Comment